บทที่ 2
วิธีการสอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.1 วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving
Method)
วิธีสอนนี้ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) เป็นผู้คิดค้นขึ้นมา
หลักใหญ่อาศัยวิธีการสอนที่ใช้ แก้ปัญหาของนักเรียน โดยครูเป็นผู้ชี้แนะเท่านั้น วิธีการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
(Scientific Method) ทุกประการคือ
- กําหนดขอบเขตของปัญหา
(Location of Problem)
- ตั้งสมมติฐาน
(Setting up of Hypothesis)
- ทดลองและรวบรวมข้อมูล
(Experimenting and Gathering of Data)
- วิเคราะห์ข้อมูล
(Analysis of Data)
- สรุป
(Conclusion)
1.2 วิธีการสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing)
วิธีการสอนแบบแสดงบทบาท เป็นการสอนที่กําหนดให้ผู้เรียน แสดงบทบาทตาม สมมติขึ้นเทียบเคียงกับสภาพที่เป็นจริงหรือแสดงออกตามแนวที่คิดว่าควรจะเป็น
เพื่อให้ผู้ดูเกิด ความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นการแสดงบทบาทสมมติจะช่วยให้เกิดความสนใจ
ฝึกความกล้า ที่จะแสดงออก เป็นการผ่อนคลายอารมณ์ตรึงเครียดของเด็ก การแสดงบทบาทสมมติต่างจากเกม
จําลองสถานการณ์ ตรงที่ไม่มีเกณฑ์และการแข่งขัน
1.3 วิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific
Method)
วิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ เป็นการสอนโดยนําหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็น โอกาสให้นักเรียนได้ค้นพบปัญหาและวิธีการแก้ไขด้วยกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์
5 ขั้น วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์
เหมาะสําหรับ การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง แบบง่ายๆ ซึ่งจะต้องจัดเนื้อหาให้ เหมาะสมกับวัย
และระดับความสามารถของผู้เรียนจึงจะบังเกิดผลดี
1.4 วิธีสอนตามขั้นที่ 4 ของอริยสัจ
(Buddist's Method)
ขั้นต่างๆ ของอริยสัจสี่ = ขั้นต่างๆ ของวิธีการแก้ปัญหา
หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ Reflective Thinking
ทุกข์ = กําหนดปัญหา
สมุทัย = การตั้งสมมติฐาน
นิโรธ = การทดลองและเก็บข้อมูล
มรรค = การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุป
1.5 วิธีการสอนแบบทดลอง (The Laboratory
Method)
วิธีการสอนแบบทดลอง มีลักษณะคล้ายกับวิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ แต่มี การปรับปรุงหลักการบางส่วนเพื่อความเหมาะสมกับการเรียนวิชาอื่นๆ
เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์
วิธีการสอนแบบทดลอง แสดงข้อเท็จจริง จากการสืบสวน ค้นคว้าและทดลอง
วิธีการสอนแบบนี้ยังต่างจากการสอนแบบสาธิตด้วย เพราะการสอนแบบสาธิตเป็น ผู้ทดลองให้นักเรียนดูส่วนการสอนแบบทดลองนักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง
1.6 วิธีการสอนแบบอภิปราย (Discussion
Method)
วิธีการสอนแบบอภิปรายเป็นการสอนแบบการเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อ
ช่วยแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างครูกับนักเรียน หรือระหว่างนักเรียนด้วยกัน
โดยมีครู เป็นผู้ประสานงาน ครูไม่ต้องซักถามปัญหานักเรียนแต่ให้นักเรียนซักถามปัญหาและช่วยกันตอบ
อันเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนฝึกพูดและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตย
1.7 วิธีการสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching)
วิธีการสอนแบบจุลภาค เป็นนวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation)
เป็นประสบการณ์ที่ย่อส่วนลงมาอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมอย่างรัดกุม
โดยสอนในห้องเรียน แบบง่ายๆ กับนักเรียน 5-6 คน
ใช้เวลา 5-15 นาที เปิดโอกาสให้ครู ได้ฝึกทักษะการสอนแบบใหม่ๆ
ขณะการสอนมีการบันทึกภาพเพื่อให้ครูได้ดูการสอนของตน เพื่อปรับปรุงทักษะให้ดีขึ้น ก่อนนําไปใช้จริงในชั้นเรียน
การสอนวิธีนี้จึงเป็นการสอนแบบย่นย่อทั้งเวลา ขนาดของชิ้นงาน และทักษะ
1.8 วิธีการสอนแบบโครงการ (Project Method)
วิธีสอนแบบโครงการ เป็นการสอนที่ให้นักเรียนเป็นหมู่หรือรายบุคคลได้วางโครงการ
และดําเนินงานให้สําเร็จตามโครงการนั้น เป็นการสอนที่สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริงนักเรียนเริ่มต้นทําโครงการด้วยการตั้งปัญหาและดําเนินการแก้ปัญหาด้วยการลงมือปฏิบัติจริง
เช่น โครงการ แก้ปัญหาความสกปรกของโรงเรียน เป็นต้น
1.9 วิธีสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method)
วิธีสอนแบบหน่วยเป็นวิธีการสอนที่นําเนื้อหาวิชาหลายวิชามาสัมพันธ์กัน โดยไม่กําหนดขอบเขตของวิชา
แต่ยึดความมุ่งหมายของบทเรียนที่เรียกว่า “หน่วย” โดยไม่ยึด ขอบเขตรายวิชาแต่ถือเอาความมุ่งหมายของหน่วยเป็นหลัก
เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของ ผู้เรียน การสอนเป็นหน่วยนั้นบางหน่วยจะสอนเป็นเวลาหลายเดือน
บางหน่วยสอนจบภายในสอง สามวัน แล้วแต่ความเล็กใหญ่ของหน่วย
1.10 วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning
Center)
เป็นการเรียนรู้จากการประกอบกิจกรรมของนักเรียนโดยแบ่งบทเรียนออกเป็น 4
- 6 กลุ่ม แต่ละศูนย์ประกอบกิจกรรมแตกต่างกันออกไปตามที่กําหนดไว้ในชุดการสอน
แต่ละกลุ่มจะมี สื่อการเรียนที่จัดไว้ในซองหรือในกล่องวางบนโต๊ะเป็นศูนย์กิจกรรม แต่ละกลุ่มหมุนเวียนกัน
ประกอบกิจกรรมตามศูนย์ต่างๆ แห่งละ 15 - 20 นาที จนครบทุกศูนย์
1.11 วิธีการสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed
Instruction)
วิธีการสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม หมายถึง สื่อการเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้
เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละบุคคล โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นหลายๆ กรอบ แต่ละ
กรอบจะมีเนื้อหาเฉพาะแบบฝึกให้ทําพร้อมเฉลยคําตอบ
1.12 บทเรียนโมดูล (Module)
บทเรียน โมดูลเป็นบทเรียนหน่วยหนึ่ง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา
เพื่อให้เกิด การเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนที่สร้างขึ้น บทเรียนโมดูลจะประกอบด้วยองค์ประกอบสําคัญ
คือ องค์ประกอบของบทเรียนโมดูล
1. หลักการและเหตุผล
(Prospectus)
2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
(Behavioral Objectives)
3. การประเมินผลก่อนเรียน
(Pre-Assessment)
4. กิจกรรมการเรียน
(Enabling Activities)
5. การประเมินผลหลังเรียน
(Post-Assessment)
1.13 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted
Instruction)
คอมพิวเตอร์ คือ สื่อการสอนที่เป็นเทคโนโลยีระดับสูง ที่นํามาประยุกต์ใช้ในการจัด
กรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนคอมพิวเตอร์มีปฏิสัมพันธ์กัน หลักการของระบบคอมพิวเตอร์
ช่วยสอนทุกแนวคิดมุ่งที่จะให้ระบบคอมพิวเตอร์ ให้เป็นสื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนให้
1.14 การสอนซ่อมเสริม
การสอนซ่อมเสริม หมายถึง การจัดการเรียนเพิ่มแก่นักเรียนที่มีระดับสติปัญญาต่ำ เรียนไม่ทันเพื่อน ขาดความคิดรวบยอดหรือจัดการเรียนเพิ่มแก่นักเรียนที่เก่งฉลาดเพื่อได้รับความรู้เพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่การซ่อมเสริมมักจัดให้เด็กที่มีผลการเรียนต่ำ เรียนในเวลาไม่รู้เรื่อง ไม่สนใจเรียน
1.15 หมวกแห่งความคิด (The Six Thinking Hats)
1. White Hat หมวกสีขาว สีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง
จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายความว่าที่ประชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น
คือ ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้นๆ ไม่ต้องการความคิดเห็น
1.16 การสอนแบบ 4 MAT
เป็นแผนการสอนที่ประยุกต์มาจากแบบใยแมงมุม แต่กิจกรรมจะนั้น 4 ขั้นตอนหรือ
ใช้กับผู้เรียนที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคล คือ
ขั้นที่ 1 Why (ทําไม) เพื่อตั้งคําถาม กระตุ้นให้เด็กสนใจในเรื่องที่เรียน
ขั้นที่ 2 What (อะไร) เป็นการอธิบายความเข้าใจการจัดการศึกษาด้วยตนเอง
ขั้นที่ 3 How (ทําอย่างไร) เป็นการนําไปปฏิบัติการนําไปใช้
ขั้นที่ 4 If (ถ้า...) เป็นการกระตุ้น
1.17 แผนการสอนแบบ CIPPA
แผนการสอนแบบ CIPPA เป็นแผนการสอนที่ใช้กิจกรรมที่เน้นผู้เรียน
เป็นศูนย์กลาง 5 ด้าน ได้แก่
1. Construct หรือ
การสร้างความรู้ตามแนวคิดของ Constructivism ที่เปิดโอกาสให้
ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
2. Interaction
หรือการปฏิสัมพันธ์หมายถึงผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนสื่อ และสิ่งแวดล้อมรอบตัว
3. Physical
Participation หรือการมีส่วนร่วมทางกาย หมายถึง ผู้เรียนมีโอกาส
เคลื่อนไหวร่างกายในการทํากิจกรรมลักษณะต่างๆ
4. Process
Learning หรือการเรียนรู้กระบวนการต่างๆ ซึ่งเป็นทักษะที่จําเป็นต่อการดำรงชีวิต
5. Application
หรือการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ หมายถึง ผู้เรียนสามารถนําความรู้ ไปใช้ได้ในสถานการณ์ต่างๆ
1.18 วิธีสอนแบบ Storyline
วิธีสอนแบบ Storyline เป็นการสอนแบบบูรณาการโดยการดึงเอาแนวคิดจากวิชาต่างๆ
เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษา ศิลปะ โดยใช้กระบวนการหลากหลายมาแก้ปัญหา
และกิจกรรมหลายๆรูปแบบ โดยให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและตอบสนองความแตกต่าง ของผู้เรียน
โดยคํานึงว่าผู้เรียนมีประสบการณ์และทักษะเดิม มีการเรียนรู้ในหลายลักษณะเช่น เรียนรายบุคคล
กลุ่มใหญ่แต่เน้นการทํางานแบบร่วมมือ (Cooperative) และทํางานเป็นทีม
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เทคนิค/วิธีการสอน
|
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
|
บทบาทผู้เรียน
|
1.กระบวนการสืบค้น
(Inquiry process)
|
- การศึกษาค้นคว้า
- การเรียนรู้กับกระบวนการ
- การตัดสินใจ
- ความคิดสร้างสรรค์
|
ศึกษาค้นคว้าเพื่อสืบค้นข้อความรู้ด้วยตนเอง
|
2.การเรียนรู้แบบค้นพบ
(Discovery Learning)
|
- การสังเกต
การสืบค้น
- การใช้เหตุผล
การอ้างอิง
- การสร้างสมมุติฐาน
|
ศึกษาค้นพบข้อความรู้และขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
|
3.การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา
(Problem-solving)
|
- การศึกษาแบบค้นคว้า
- การวิเคราะห์ สังเคราะห์
- ประเมินค่าข้อมูล
- การลงข้อสรุป
- การแก้ปัญหา
|
ศึกษาแก้ปัญหาอย่างเป็น
กระบวนการและฝึกทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญด้วยตนเอง
|
4.การเรียนรู้แบบสร้างแผนผังความคิด
(Concept Mapping)
|
- การคิด
- การจัดระบบความคิด
|
จัดระบบความคิดของตนให้ชัดเจนเห็นความสัมพันธ์
|
5.การตั้งคำถาม
(Questioning)
|
- กระบวนการคิด
- การตีความ
- การไตร่ตรอง
- การถ่ายทอดความคิดความเข้าใจ
|
เรียนรู้จากการคิดเพื่อสร้างข้อคำถามและคำตอบด้วยตนเอง
|
6.การศึกษาเป็นรายบุคคล
(Individual Study)
|
- การศึกษาค้นข้อความรู้
- การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
- ความรับผิดชอบ
- การตอบคำถาม
|
เรียนรู้อย่างอิสระด้วยตนเอง
|
7.การจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี
(Technology-Related Instruction)
|
- การแก้ปัญหา
- การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
- การเรียนรู้ที่ต้องการผลการเรียนทันที
- การเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอน
- บทเรียนสำเร็จรูป
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- e-learning
|
เรียนรู้ด้วยตนเองตามระดับความรู้ความสามารถของตนมีการแก้ไขฝึกซ้ำเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญ
|
8.อภิปรายกลุ่มใหญ่
(Whole-Class Discussion)
|
- การแสดงความคิดเห็น
- การวิเคราะห์
- การตีความ
- การสื่อความหมาย
- ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- การสรุปความ
|
มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นมีบทบาทมีส่วนร่วม
ในการสร้างข้อความรู้
|
9.อภิปรายกลุ่มย่อย
(Small-Group Discussion)
|
- กระบวนการการกลุ่ม
- การวางแผน
- กาแก้ปัญหา
- การตัดสินใจ
- ความคิดระดับสูง
- ความคิดสร้างสรรค์
- การแก้ไขข้อขัดแย้ง
- การสื่อสาร
- การประเมินผลงาน
- การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
|
รับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะผู้นำกลุ่มหรือสมาชิกกลุ่มทั้งในบทบาทการทำงานและบทบาทเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม
ในการสร้างข้อคามรู้สึกหรือผลงานกลุ่ม
|
9.1 เทคนิคคู่คิด
(Think Pair-Share)
|
- การค้นคว้าหาคำตอบ
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
|
รับผิดชอบการร่วมกับเพื่อน
|
9.2
เทคนิคการระดมพลังสมอง
(Brainstorming)
|
- การมีส่วนร่วม
- การแสดงความคิดเห็น
- ความคิดสร้างสรรค์
- การแก้ปัญหา
|
แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายในเวลาอันรวดเร็ว
|
9.3 เทคนิค Buzzing
|
- การค้นคว้าหาคำตอบด้วยเวลาจำกัด
|
แสดงความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาอันจำกัด
|
9.4
การอภิปรายแบบกลุ่มต่างๆ
(Panel,Forum Symposium Seminar)
|
- การสื่อสาร
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
- การสรุปข้อความ
|
รับฟังขอมูลความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาอันจำกัด
|
9.5 กลุ่มติว
|
- การฝึกซ้ำ
- การสื่อสาร
|
ทบทวนจากกลุ่มหรือเรียนเพิ่มเติม
|
10.การฝึกปฏิบัติการ
|
- การค้นคว้าหาความรู้
- การรวบรวมข้อมูล
- การแก้ปัญหา
|
ศึกษาค้นคว้าข้อความรู้ในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการ
|
11.เกม
(Games)
|
- การคิดวิเคราะห์
- การตัดสินใจ
- การแก้ปัญหา
|
ได้เล่นเกมด้วยตนเองภายใต้กฎหรือกติกาที่กำหนดได้คิดวิเคราะห์พฤติกรรมและเกิดความสนุกสนานในการเรียน
|
12.กรณีศึกษา
(Case Studies)
|
- การค้นคว้าหาความรู้
- การอภิปราย
- การวิเคราะห์
- การแก้ปัญหา
|
ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์อภิปรายเพื่อสร้างความเข้าใจเลือกแนวทางแก้ปัญหา
|
13.สถานการณ์จำลอง
(Simulation)
|
- การแสดงความคิดเห็น
- ความรู้สึก
- การวิเคราะห์
|
ได้ทดลองแสดงพฤติกรมต่างๆในสถานการณ์ที่จำลองใกล้เคียงสถานการณ์จริง
|
14.ละคร
(Dramatization)
|
- ความรับผิดชอบในบทบาท
- การทำงานร่วมกัน
- การวิเคราะห์
|
ได้ทดลองแสดงบทบาทตามกำหนดเกิดประสบการณ์เข้าใจความรู้สึกเหตุผลและพฤติกรรมผู้อื่น
|
15.บทบาทสมมุติ
|
- มนุษย์สัมพันธ์
- การแก้ปัญหา
- การวิเคราะห์
|
ได้ลองสวมบทบาทต่างๆและศึกษาวิเคราะห์ความรู้สึกและพฤติกรรมตน
|
16.การเรียนแบบร่วมมือ
(Cooperative Learning)
ประกอบด้วยเทคนิค
JIGSAW, JIGSAW II, TGT
STAD, LT, NHT, Co-op Co-op
|
- กระบวนการกลุ่ม
- การสื่อสาร
- ความรับผิดชอบร่มกัน
- ทักษะทางสังคม
|
ได้เรียนรู้บทบาทสมาชิกกลุ่มมีบทบาทหน้าที่
รู้จักการไว้วางใจให้เกียรติและรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิกกลุ่ม
|
17.การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
(Participatory Learning)
|
- การนำเสนอความคิดเห็นประสบการณ์
- การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์
- กระบวนการกลุ่ม
|
มีส่วนร่วมในการอภิปรายแสดงความคิดเห็นหรือปฏิบัติจนได้ข้อสรุป
|
18.การเรียนการสอนแบบ
บูรณาการ แบบ Shoreline Method
|
- การค้นคว้าหาความรู้
- การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
- ทักษะทางสังคม
|
มีส่วนร่วมในการเรียนทั้งด้านร่างกาย
จิตใจและการคิดดำเนินการเรียนด้วยตนเองทั้งในห้องเรียนและสถานการณ์จริง
|
3. เทคนิควิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอน
การเรียนรู้อย่างตื่นตัว (Active Learning)
Active Learning เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นพัฒนากระบวนการเรียนรู้
ส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ทักษะและเชื่อมโยงองค์ความรู้นำไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาหรือประกอบอาชีพในอนาคตได้อย่างแท้จริง
และควรตื่นตัวทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์
การเรียนรู้ที่แท้จริง
หมายถึง
ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ คุณลักษณะ ฯลฯ)
จากกระบวนการที่บุคคลรับรู้และจัดกระทําต่อสิ่งเร้าต่างๆ เพื่อสร้างความหมายของสิ่งเร้า
(สิ่งที่เรียนรู้) นั้น เชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เดิมของตน จนเกิดเป็นความหมายที่ตนเข้าใจ
อย่างแท้จริง และสามารถอธิบายตามความเข้าใจของตนได้
เทคนิคกับวิธีสอน คืออะไร ?
วิธีสอน หมายถึง
ขั้นตอนที่ผู้สอนดําเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ด้วยวิธีการต่างๆ
ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบและขั้นตอนสําคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้นๆ
(ทิศนา แขมมณี, 2550)
เทคนิคการสอน หมายถึง
กลวิธีต่างๆ
ที่ใช้เสริมขั้นตอนการสอน กระบวนการสอน วิธีการสอน หรือการกระทําใดๆ ทางการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพมากขึ้น
(รู้เร็ว ลึก นาน)
เทคนิคการสอนแบบอุปนัย ( Inductive
Method )
ความหมาย วิธีสอนแบบอุปนัย เป็นการสอนจากรายละเอียดปลีกย่อยไปหา กฎเกณฑ์ กล่าวคือ เป็นการสอนแบบย่อยไปหาส่วนรวมหรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์
หลักการ ข้อเท็จจริง หรือข้อสรุป โดยการให้นักเรียนทำการศึกษา สังเกต ทดลอง เปรียบเทียบ
แล้วพิจารณาค้นหาองค์ประกอบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็น
ข้อสรุป
ขั้นตอนในการสอนแบบอุปนัย
1. ขั้นเตรียม คือ การเตรียมตัวนักเรียน เป็นการทบทวนความรู้เดิม
กำหนด จุดมุ่งหมาย และอธิบายความมุ่งหมายให้นักเรียนได้เข้าใจอย่างชัดเจน
2. ขั้นสอนหรือขั้นแสดง คือ การเสนอตัวอย่างหรือกรณีต่าง
ๆ ให้นักเรียนได้ พิจารณา เพื่อให้นักเรียนสามารถเปรียบเทียบ สรุปกฎเกณฑ์ได้ การเสนอตัวอย่าง
ควรเสนอ หลายๆ ตัวอย่างให้มากพอที่จะสรุปกฎเกณฑ์ได้ ไม่ควรเสนอเพียงตัวอย่างเดียว
3. ขั้นเปรียบเทียบและรวบรวม เป็นขั้นหาองค์ประกอบรวม
คือ การที่นักเรียน ได้มีโอกาสพิจารณาความคล้ายคลึงกันขององค์ประกอบในตัวอย่างเพื่อเตรียมสรุปกฎเกณฑ์ไม่ควร
รีบร้อนหรือเร่งเร้าเด็กเกินไป
4. ขั้นสรุป คือ การนำข้อสังเกตต่าง ๆ จากตัวอย่างมาสรุปเป็นกฎเกณฑ์
นินาม หลักการ หรือสูตร ด้วยตัวนักเรียนเอง
5. ขั้นนำไปใช้ คือ ขั้นทดลองความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับกฎเกณฑ์หรือ
ข้อสรุปที่ได้มาแล้วว่าสามารถที่จะนำไปใช้ในปัญหาหรือแบบฝึกหัดอื่น ๆ ได้หรือไม่
ความหมาย
วิธีสอนแบบนี้ เป็นการสอนที่เริ่มจากฎ หรือ หลักการต่าง ๆ แล้วให้นักเรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยัน
วิธีการสอนแบบนี้ฝึกหัดให้นักเรียนเป็นคนมี เหตุมีผล ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริงเสียก่อน
ขั้นตอนในการสอนแบบนิรนัย
1. ขั้นอธิบายปัญหา ระบุสิ่งที่จะสอนในแง่ของปัญหา
เพื่อยั่วยุให้นักเรียนเกิด ความสนใจที่จะหาคำตอบ ( เช่น เราจะหาพื้นที่ของวงกลมอย่างไร
) ปัญหาจะต้องเกี่ยวข้อกับ สถานการณ์จริงของชีวิต และเหมาะสมกับวุฒิภาวะของเด็ก
2. ขั้นอธิบายข้อสรุป ได้แก่ การนำเอาข้อสรุปกฎหรือนิยามมากกว่า
1 อย่างมา อธิบาย เพื่อให้นักเรียนได้เลือกใช้ในการแก้ปัญหา
3. ขั้นตกลงใจ เป็นขั้นที่นักเรียนจะเลือกข้อสรุป
กฎหรือนิยาม ที่จะนำมาใช้ใน การแก้ปัญหา
4. ขั้นพิสูจน์ หรืออาจเรียกว่าขั้นตรวจสอบ เป็นขั้นที่สรุปกฎ
หรือ นิยามว่าเป็น ความจริงหรือไม่ โดยการปรึกษาครู ค้นคว้าจากตำราต่าง ๆ และจากการทดลองข้อสรุปที่ได้
พิสูจน์ว่าเป็นความจริงจึงจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง
เทคนิคการสอนแบบระดมพลังสมอง ( Brainstorming
)
ความหมาย
หมายถึง วิธีสอนที่ใช้ในการอภิปรายโดยทันที ไม่มีใครกระตุ้น กลุ่มผู้เรียนเพื่อหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่กำหนดอย่างรวดเร็ว
ในระยะเวลาสั้นโดย ในขณะนั้นจะไม่มีการตัดสินว่า คำตอบหรือทางเลือกใดดีหรือไม่อย่างไร
ลักษณะสำคัญ
ผู้เรียนแบ่งเป็นกลุ่มเล็ก
ๆ ช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือก สำหรับปัญหาที่กำหนดให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
แล้วช่วยกันพิจารณาเลือกทางเลือก ที่ดีที่สุด ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งทาง
ขั้นตอนในการระดมสมอง
1. กำหนดปัญหา
2. แบ่งกลุ่มผู้เรียน และอาจเลือกประธานหรือเลขา
เพื่อช่วยในการอภิปรายและ บันทึกผล
3. สมาชิกทุกคนในกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่กำหนดให้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด
โดยปัญหาของแต่ละกลุ่มอาจเป็นปัญหาเดียวกันหรือต่างกันก็ได้
4. คัดเลือกเฉพาะทางเลือกที่น่าจะเป็นไปได้ หรือเหมาะสมที่สุด
5. แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของตน ( ข้อ 4 และ 5 อาจสลับกันได้
)
วิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ ( Practice
)
หมายถึง วิธีสอนที่ให้ประสบการณ์ตรงกับ ผู้เรียน โดยการให้ลงมือปฏิบัติจริง เป็นการสอนที่มุ่งให้เกิดการผสมผสานระหว่างทฤษฎีและ
ภาคปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ
ให้ผู้เรียนได้ลงมือฝึกฝนหรือปฏิบัติจริง
ลักษณะสำคัญ
การลงมือปฏิบัติมักดำเนินการภายหลังการสาธิต การทดลองหรือ การบรรยาย เป็นการฝึกฝนความรู้ความเข้าใจจากทฤษฎีที่เรียนมาโดยเน้นการฝึกทักษะ
ขั้นตอนการสอน
1. ขั้นเตรียม ผู้สอนกำหนดจุดมุ่งหมายของการฝึกปฏิบัติ
รายละเอียดของขั้นตอน การทำงาน เตรียมสื่อต่าง ๆ เช่น วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือใบงานหรือคู่มือการปฏิบัติงาน
2. ขั้นดำเนินการ ผู้สอนให้ความรู้และทักษะที่เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ
มอบหมาย งานที่ปฏิบัติเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล กำหนดหัวข้อการรายงาน หรือการบันทึกผลการปฏิบัติงานของ
ผู้เรียน
3. ขั้นสรุป ผู้สอนและผู้เรียน ช่วยกันสรุปกิจกรรมการปฏิบัติงาน
4. ขั้นประเมินผล สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน เช่น
ความสนใจ ความร่วมมือ ความเป็นระเบียบ
การประหยัด การใช้และการเก็บรักษาเครื่องมือ และการตรวจผลงาน เช่น คุณภาพของงาน ความริเริ่ม
ความประณีตสวยงาม
ข้อควรคำนึง
ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือจำนวนมาก และมีคุณภาพ
วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ( Simulation
)
หมายถึง วิธีสอนที่จำลองสถานการณ์จริงมาไว้ใน ชั้นเรียน โดยพยายามทำให้เหมือจริงที่สุด
มีการกำหนดกติกาหรือเงื่อนไข แล้วแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มให้ เข้าไปเล่นในสถานการณ์จำลองนั้น
ๆ ด้วยกิจกรรมนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการเผชิญกับปัญหา จะต้องมีการตัดสินใจและใช้ไหวพริบ
วัตถุประสงค์
ให้ผู้เรียนได้เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับสถานการณ์จนเกิดความเข้าใจ
ขั้นตอนการสอน
1. ขั้นเตรียม ผู้สอนจัดเตรียมสถานการณ์โดยกำหนดจุดมุ่งหมายของการสอนแล้ว
เลือกรูปแบบและขั้นตอนที่เหมาะสม เขียนเนื้อหารายละเอียดและอุปกรณ์ที่ต้องใช้
3. ขั้นสรุป ผู้สอนจะช่วยสรุปด้วยการวิเคราะห์กระบวนการ
เปรียบเทียบบทเรียนจา กดสถานการณ์จำลองกับโลกแห่งความเป็นจริง หรือเชื่อมโยงกิจกรรมที่ปฏิบัติไปแล้วกับเนื้อหาวิชาที่
เรียน
ความหมาย หมายถึงวิธีสอนที่ครูมีหน้าที่ในการวางแผนการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่
โดย มีการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต
การฟัง การ กระทำ หรือการแสดง และอาจเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมบ้าง
ความมุ่งหมาย
1. เพื่อกระตุ้นความสนใจให้นักเรียนมีความสนใจในบทเรียนยิ่งขึ้น
2. เพื่อช่วยในการอธิบายเนื้อหาที่ยาก ซึ่งต้องใช้เวลามาก
ให้เข้าใจง่ายขึ้น และ ประหยัดเวลา บางเนื้อหาอาจจะอธิบายให้นักเรียนเข้าใจได้ยาก การสาธิตจะทำให้นักเรียนได้เห็น
ขั้นตอนและเกิดความเข้าใจง่าย
3. เพื่อพัฒนาการฟังการสังเกตและการสรุปทำความเข้าใจในการสอน
โดยใช้วิธี สาธิต นักเรียนจะฟังคำอธิบายควบคู่ไปด้วย และต้องสังเกตขั้นตอนต่าง ๆ ตลอดจนผลที่ได้จาก
การสาธิตแล้วจึงสรุปผลของการสาธิต
วิธีสอนแบบโครงการ ( Project Method
)
ความหมาย วิธีสอนแบบโครงการ เป็นการสอนที่ให้นักเรียนเป็นหมู่หรือรายบุคคลได้
วางโครงการและดำเนินงานให้สำเร็จตามโครงการนั้น นับว่าเป็นการสอนที่สอดคล้องกับสภาพ
ชีวิตจริงเด็กจะทำงานนี้ด้วยการตั้งปัญหา ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยการลงมือทำจริง เช่น
โครงการ รักษาความสะอาดของห้องเรียน
ขั้นตอนในการสอน
1. ขั้นกำหนดความมุ่งหมาย เป็นขั้นกำหนดความหมายและลักษณะโครงการ
โดยตัวนักเรียน ครูจะเป็นผู้ชี้แนะให้นักเรียนตั้งความมุ่งหมายของการเรียนว่าเราจะเรียนเพื่ออะไร
2. ขั้นวางแผนหรือวางโครงการ เป็นขั้นที่มีคุณค่าต่อนักเรียนเป็นอย่างมาก
คือ นักเรียนจะช่วยกันวางแผนว่าทำอย่างไรจึงจะบรรลุถึงจุดมุ่งหมาย จะใช้วิธีการใดในการทำ
กิจกรรม แล้วจึงทำกิจกรรมที่เหมาะสม
4. ขั้นประเมินผล หรืออาจเรียกว่า ขั้นสอบสวนพิจารณานักเรียน
ทำการ ประเมินผลว่ากิจกรรม หรือโครงการที่ทำนั้นบรรลุตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ หรือไม่มี
ข้อบกพร่องอย่างไรและควรแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างไร
เทคนิคการอภิปรายแบบอ่างปลา
ความหมาย เทคนิคการอภิปรายแบบอ่างปลา เป็นการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น
2 กลุ่ม นั่ง เป็นวงกลม 2 วงซ้อน กลุ่มวงในจะมีจำนวน 5 – 10 คน
จะไม่มากนัก กลุ่มวงนอกจะมีจำนวน มากกว่ากลุ่มวงใน หรือบางครั้งอาจเท่ากันหรือน้อยกว่าก็ได้
ขั้นตอนการสอน
1. ผู้สอนแบ่งผู้เรียนเป็นสองกลุ่ม ให้จัดที่นั่งเป็นวงกลม
2 วงซ้อนกันและ ผู้สอนมอบหัวข้อเรื่องให้กลุ่มอภิปราย
2. กลุ่มในจะดำเนินการประชุม โดยจะเลือกผู้นำกลุ่ม
และเลขากลุ่ม ส่วนกลุ่ม นอกจะสังเกตการณ์ และเก็บข้อมูลไว้
3. ระหว่างการอภิปรายกลุ่ม ผู้สอนจะต้องให้คำแนะนำและช่วยเหลือเมื่อกลุ่ม
ต้องการ
4. เมื่อกลุ่มในได้อภิปรายเรื่องที่ผู้สอนมอบหมายให้เสร็จแล้ว
ผู้สอนให้ตัวแทน มารายงานสรุปผลการอภิปราย
5. หลังจากนั้นกลุ่มนอกซึ่งสังเกตการณ์อยู่จะรายงานผลการสังเกตและการทำงาน
ของกลุ่ม
6. ผู้สอนถามความคิดเห็นของผู้เรียนทั้งกลุ่มในและกลุ่มนอกพร้อมทั้งวิเคราะห์
เพิ่มเติม สรุป
วิธีสอนโดยใช้เกม
1. ผู้สอนนำเสนอเกม ชี้แจงวิธีการเล่น และกติกาการเล่น
2. ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา
3. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่นและวิธีการเล่นหรือพฤติกรรม
การเล่นของผู้เรียน
เทคนิคการใช้คําถาม
• การใช้คําถามเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
คือ ต้องมีการศึกษาลักษณะของคําถาม และครูต้องใช้ศิลปะในการถามซึ่งเป็นสิ่งจําเป็น
*อ่านเพิ่มเพิ่ม : https://sites.google.com/site/julalaxmowee/hlak-kar/hlak-kar-sxn *
เทคนิคการใช้คําถาม
คําสั่ง : จงตั้งคําถามจากเรื่องเล่าต่อไปนี้ให้ได้มากที่สุด
“เด็กหญิงแพรไหมกําลังเก็บผักบุ้งอยู่ที่แปลงผักของโรงเรียนอย่างตั้งอกตั้งใจตั้งแต่เช้า
เนื่องจากคนครัวของโรงอาหารได้สั่งซื้อผักบุ้งจํานวน 10 กิโลกรัมเพื่อนํามาทําเป็นอาหารกลางวัน
ให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียน”
• เพราะฉะนั้นครูต้องมีการฝึกฝนเพื่อให้เกิดทักษะในการใช้
• การใช้คําถามสามารถดึงดูดความสนใจ
ต้องอาศัยประสบการณ์ในการใช้
ใคร?
อะไร? ที่ไหน? อย่างไร? เมื่อใด? ทําไม? เท่าใด?
ประโยชน์ของคําถาม
1. เสริมสร้างความสามารถในการคิดให้แก่ผู้เรียน
2. เพื่อเร้าความสนใจใช้ในการนําเข้าสู่บทเรียน
3. คําถามที่ดีจะทําให้มีการอภิปรายต่อเนื่องกันไป
4. ขยายความคิด
เทคนิคการใช้คําถาม
• ถามด้วยความมั่นใจ
• ความกลมกลืนในการถาม
• ถามให้เป็นภาษาพูดง่ายๆ
• เว้นระยะให้คิด
อย่าเร่งรัดคําตอบจากผู้เรียนมากเกินไป
• ให้ผู้เรียนมีโอกาสตอบได้หลายคน
เทคนิคการใช้ฝังกราฟิก
1.ผังความคิด (A Mind Map)
• ให้ผู้เรียนมีโอกาสตอบได้หลายคน
เทคนิคการใช้ฝังกราฟิก
1.ผังความคิด (A Mind Map)
2.ยังมโนทัศน์ (A Concept map)
3.ผังแมงมุม (A Spider Map)
4.ผังก้างปลา (A fish borne Map) และอื่นๆ
1.ผังความคิด (A Mind Map)
เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของสาระหรือความคิดต่างๆให้เห็นในภาพรวม
โดยใช้เส้น คํา ระยะห่างจากจุดศูนย์กลาง สี เครื่องหมาย รูปทรงเรขาคณิต และภาพ แสดงความหมาย
และความเชื่อมโยงของความคิดหรือสาระนั้นๆ
มีขั้นตอนหลักๆ ในการทําดังนี้
1.1 เขียนความคิดรวบยอดหลักไว้ตรงกลาง แล้วแตกสาขาออกไปเป็นความคิดรวบยอดย่อยๆ
1.2 เขียนคําที่เป็นตัวแทนความหมายของความคิดนั้นๆลงไป และใช้รูปทรงเรขาคณิตแสดง
ระดับของคํา คําใดอยู่ในขอบเขตหรือระดับเดียวกัน ใช้รูปทรงเรขาคณิตเดียวกันล้อมกรอบคํานั้น
1.3 ลากเส้นเชื่อมโยงความคิดเพื่อแสดงความสัมพันธ์ของความคิดต่างๆ อาจเป็นเส้นตรง
โค้ง ลูกศร เส้นประ
1.4 ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เป็นตัวแทนความหมายของ ความคิดและความรู้สึกต่างๆ
1.5 สร้างผังความคิดให้สมบูรณ์ ตามความเข้าใจของตน
4. ผังก้างปลา (A fishbone Map)
5.ผังวีไดอะแกรม (Vee Diagram)
*อ่านเพิ่มเติม : เทคนิคการสอน *
เทคนิคตระกูล K
1.KWL
2.KWLplus
3.KWDL
4.KWLH
1.KWL
KWL เป็นเทคนิคการสอนที่ควบคู่ไปกับการวัดผลการเรียนรู้
ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ฉันรู้อะไร (What I Know) ฉันต้องการรู้อะไร
(What I Want to Know)และฉันเรียนรู้อะไร (What I Learnt) จุดประสงค์ของการนำเทคนิค
KWL มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อค้นหาหรือดึงความรู้ก่อนเรียนของผู้เรียนออกมาอย่างเป็นรูปธรรม ผู้สอนสามารถวางจุดประสงค์และแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพื้นฐานความรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถตรวจสอบและติดตามการเรียนรู้ของตนเอง ผู้เรียนสามารถวัดและประเมินการเรียนรู้ของตนเอง
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ขยายแนวคิดในเรื่องที่ต้องการเรียนรู้
ตัวอย่าง การจัดการเรียนรู้ KWL เรื่อง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
Know
บทอ่านเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง หรือ
รู้อะไรบ้างจากเรื่องที่กำหนด
|
Want to know
อยากรู้อะไรบ้างจากบทอ่าน หรือ
อยากรู้อะไรเพิ่มเติมจากบทอ่าน
|
Learned
เรียนรู้อะไรบ้างจากบทอ่าน
|
2.KWL plus
plus = ทําแผนผังมโนทัศน์
Know (รู้อะไรบ้าง)
What do we want to learn (ต้องการรู้อะไร)
What did we Learned (เกิดการเรียนรู้อะไร)
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ KWL plus
1. เลือกบทอ่านที่น่าสนใจหรือบทอ่านที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้
2. ทําตาราง KWL plus ให้กับผู้เรียน
3. ถามผู้เรียนว่ารู้อะไรบ้าง (K) จากเรื่องที่กําหนดให้ แล้วบันทึก
4. ถามผู้เรียนว่าต้องการรู้อะไรจากเรื่องที่อ่าน (W) แล้วบันทึก
5. ให้นักเรียนอ่านบทอ่านแล้วบันทึกว่ารู้อะไรบ้าง (L)หลังการอ่าน
6. ทําแผนผังมโนทัศน์ (Mind Mapping หรือ
Concept Mapping)
ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ KWL plus
Know
รู้อะไรบ้างจากเรื่องที่อ่าน
ระบุประเด็นสั้นๆ
|
What do we want to learn
อยากรู้อะไรจากประเด็นที่ระบุ
หรือ ต้องทำอะไร อย่างไรกับประเด็นเหล่านั้น
|
What did we Learned
จากการอ่านและตอบคำถามได้รู้อะไรบ้าง
มีอะไรบ้างที่ยังรู้ไม่ชัดเจน
|
3.KWDL
การสอนแบบเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K
W D L) หรือ เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W
D L) ได้พัฒนาขึ้นโดย Ogle (1989) เพื่อใช้สอนและฝึกทักษะทางการอ่าน
และต่อมาได้พัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น โดย Carr และ Ogle ในปีถัดมา
(1987) โดยยังคงสาระเดิมไว้ แต่เพิ่มการเขียนผังสัมพันธ์ทางความหมาย
(Semantic Mapping) สรุปเรื่องที่อ่าน และมีการนำเสนอเรื่องจากผังอันเป็นการพัฒนาทักษะการเขียนและพูด
นอกเหนือไปจากทักษะการฟัง และการอ่าน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการสอนทักษะภาษา แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆที่มีการอ่านเพื่อทาความเข้าใจ
เช่น วิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นต้น เพราะว่าผู้เรียนจะได้รับการฝึกให้ตระหนักในกระบวนการการทาความเข้าใจตนเอง
การวางแผนการ ตั้งจุดมุ่งหมาย ตรวจสอบความเข้าใจในตนเอง การจัดระบบข้อมูล เพื่อดึงมาใช้ภายหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงมีประโยชน์ในการฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนสรุป และนำเสนอ โดยมีขั้นตอนการเรียนการสอบ
4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 K (What we know) นักเรียนรู้อะไรบ้างในเรื่องที่จะเรียนหรือสิ่งที่โจทย์บอกให้ทราบมีอะไรบ้าง
ขั้นที่ 2 W (What we want to know) นักเรียนหาสิ่งที่โจทย์ต้องการทราบหรือสิ่งที่นักเรียนต้องการรู้
ขั้นที่ 3 D (What we do to find out) นักเรียนจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อหาคำตอบตามที่โจทย์ต้องการ
หรือสิ่งที่ตนเองต้องการรู้
ขั้นที่ 4 L (What we learned) นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ KWDL
What we know
รู้อะไรบ้าง
|
What we want to know
โจทย์ให้หาอะไร
|
What we do
วิธีการหาคำตอบอย่างไร
|
What we Learned
คำตอบที่ได้และวิธีคิด
|
1……………..
2……………..
3……………..
|
1……………..
2……………..
3……………..
|
แสดงวิธีทำ
วิธีที่ 1
วิธีที่ 2
|
คำตอบ………..
สรุปขั้นตอน
|
4.KWLH
Know (รู้อะไรบ้าง)
What to learn (ต้องการรู้อะไร)
What they learn as they read (รู้อะไรบ้างจากการเรียน)
How we can Learned more (จะหาความรู้เพิ่มเติมโดยวิธีใด)
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ KWLH
1. กําหนดคําหรือเรื่องที่ต้องการจัดการเรียนรู้
2. ทําตาราง
KWLH ให้กับผู้เรียน
3. ถามผู้เรียนว่ารู้อะไรบ้าง
(K) จากคําหรือเรื่องที่กําหนดให้ แล้วบันทึก
4. ถามผู้เรียนว่าต้องการรู้อะไรจากคําหรือเรื่องที่กําหนดให้
(W) แล้วบันทึก
5. ให้ผู้เรียนอ่านเรื่องราวจากคําหรือเรื่องที่กําหนดให้แล้วบันทึกว่ารู้อะไรบ้างหลังการอ่าน(L)
6. ให้นักเรียนระบุว่าจะหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยวิธีใด
(H)
จุดเด่นของการจัดการเรียนรู้ KWLH
1. นํามาใช้จัดการเรียนรู้ได้ทุกกลุ่มสาระ
2. นํามาใช้พัฒนาความสามารถในการคิดหรือพัฒนาทักษะการคิดได้
ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ KWLH
Know
รู้อะไรบ้างจากคำว่า
ไดโนเสาร์
|
What to learn
ต้องการรู้อะไรจาก
เรื่องไดโนเสาร์
|
What they learn as they read
รู้อะไรบ้างจากการอ่านเรื่องไดโนเสาร์
|
How we can Learned more
จะหาความรู้เพิ่มเติม
โดยวิธีใด
|
-ตัวโตมาก
-สูญพันธุ์แล้ว
-ฯลฯ
|
-มีกี่ชนิด
-สูญพันธุ์ได้อย่างไร
-เมืองไทยเคยมีไดโนเสาร์หรือไม่
-ฯลฯ
|
-กินพืชและสัตว์เป็นอาหาร
-ตัวโตแต่สมองเล็ก
-เมืองไทยเคยขุดพบไดโนเสาร์
|
-วิจัย
-พิพิธภัณฑ์
-ทัศนศึกษา
-อินเตอร์เน็ต
-ฯลฯ
|
เทคนิคการสอนการคิดสร้างสรรค์โดยใช้ภาพแบบ PWIM
(Picture Word Inductive Model)
ลักษณะสําคัญ คือ ใช้รูปภาพที่สอดคล้องกับสาระวัตถุประสงค์ และวัยของผู้เรียนเป็นสื่อที่ นําไปสู่ การรู้คําศัพท์ วลี ประโยค ข้อความ จนถึงการอ่านและการเขียนที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยมีการฝึก ซ้ําๆ เป็นปริมาณมากๆ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอด และหลักการด้วยตนเอง ด้วยวิธีคิดแบบอุปนัย และที่สําคัญเป็นการเรียนรู้ที่เริ่มจากตัวผู้เรียน
1. เริ่มต้นด้วยการใช้รูปภาพที่ประกอบด้วยวัตถุ สิ่งของ ฉาก เหตุการณ์ สถานการณ์
(ที่นักเรียนรู้จักคุ้นเคย) ให้นักเรียนสังเกต ช่วยกันระบุคําต่างๆ เหตุการณ์ การปฏิบัติที่ปรากฏ
ในรูปภาพ (Words and Actions)
2. ครูโยงภาพกับคําศัพท์ หรือคําที่นักเรียนเสนอ นักเรียนพูดออกเสียงและสะกดคําที่ได้
จากภาพ โดนครูคอยแนะนําแก้ไขให้ออกเสียงให้ถูกต้อง
3. นักเรียนช่วยกันจัดกลุ่มคํา หรือจัดประเภทคํา หรือคําศัพท์ที่ระบุจากภาพ
(ความคิด รวบยอด มีการจําแนก จัดกลุ่ม ขึ้นอยู่กับวัยและระดับประสบการณ์ของนักเรียน)
4. นักเรียนฝึกเขียนวลี แต่งประโยคจากคําศัพท์ต่าง ๆ
5. นักเรียนฝึกเขียนข้อความ ย่อหน้า และเขียนเรื่องจากภาพ ใช้การฝึกอย่างน้อย
20 ครั้ง/เรื่อง)
สรุป
วิธีสอน เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ด้วยวิธีการต่างๆที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบและขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้นๆ
เทคนิคการสอน เป็นกลวิธีต่างๆที่ใช้เสริมขั้นตอนการสอน กระบวนการสอน วิธีการสอนหรือการกระทำใดๆ ทางการสอนเพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพมากขึ้น
งานเดี่ยว เรื่อง การจัดการเรียนรู้ KWLH
Know
รู้อะไรบ้างจากคำว่า
Got7
|
What to learn
ต้องการรู้อะไรจากเรื่อง
Got7
|
What they learn as they read
รู้อะไรบ้างจากการอ่านเรื่อง
Got7
|
How we can Learned more
จะหาความรู้เพิ่มเติมโดยวิธีใด
|
-มี 7 คน
-เป็นนักร้องเกาหลีจากค่าย
JYPE
-มีคนเกาหลี 4 คน
-มีคนต่างชาติ 3 คน คือ ไทย จีน อเมริกา
-ฯลฯ
|
-มีกี่คน
-เคยมาประเทศไทยไหม
-อัลบั้มแรกชื่ออะไร?
-เพลงแรกที่ออกคือเพลงอะไร
-สมาชิกคนไหนที่แพ้แตงกวา
-ฯลฯ
|
-มี 7 คน ชื่อ เจบี มาร์ค แจ็คสัน จินยอง ยองแจ
แบมแบม ยูคยอม
-คนชื่อ เจบี
เป็นหัวหน้าวง
-คนเกาหลีมี 4 คน คือ เจบี จินยอง ยองแจ ยูคยอม
- คนไทย คือ แบมแบม
-คนจีน (ฮ่องกง) คือ
แจ็คสัน
-คนอเมริกา คือ มาร์ค
-เคยมาประเทศไทย
-ยองแจ แพ้แตงกวา
-เจบีและแบมแบม
เลี้ยงแมว
-ได้รับรางวัลมากมายในปี
2017 เช่น 2017 Album of the Year (1st Quarter) - Flight Log: Departure และอื่นๆ
-ฯลฯ
|
-อินเทอร์เน็ต
-Twitter
-ฯลฯ
|
สรุป
วิธีสอน เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ด้วยวิธีการต่างๆที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบและขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้นๆ
เทคนิคการสอน เป็นกลวิธีต่างๆที่ใช้เสริมขั้นตอนการสอน กระบวนการสอน วิธีการสอนหรือการกระทำใดๆ ทางการสอนเพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพมากขึ้น
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.
พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์,
2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น