คำถามท้ายบทที่ 1-7
คำถามท้ายบทที่ 1
1. เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาเรื่อง
แนวคิดการออกแบบการเรียนการสอนในบทที่ 1 ท่านคิดว่าการออกแบบการเรียนการสอนมีความสำคัญต่อนักเรียน
ครูผู้สอนและสถานศึกษาอย่างไร จงอธิบายและให้เหตุผลที่สอดคล้องกัน
ตอบ การออกแบบการเรียนการสอนมีความสำคัญต่อนักเรียน คือ
นักเรียนได้เรียนตามความสนใจ ความถนัด และความสามารถของแต่ละบุคคล
และประสบผลสำเร็จในการเรียน
ได้รับประสบการณ์ทางการเรียนด้วยความสนุกสนานรู้สึกว่าตนมีความสำคัญเพราะได้มีส่วนร่วมในฐานะสมาชิก มีผู้ฟังเรื่องราวของตนเองและได้รับรู้เรื่องราวของคนอื่น นอกจากจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์แล้วยังทำให้สัมพันธภาพในกลุ่มผู้เรียนเป็นไปด้วยดี
การออกแบบการเรียนการสอนมีความสำคัญต่อครูผู้สอน คือ
ได้วางแผนการเรียนการสอนและได้ปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละบุคคล
ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการเรียนและยกระดับความสามารถของนักเรียนตามความสนใจ
ความถนัด และความสามารถของนักเรียน
การออกแบบการเรียนการสอนมีความสำคัญต่อสถานศึกษา คือ สามารถยกระดับมาตรฐานทางการเรียนของสถานศึกษาและสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ตรงกับวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
และสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่สถานศึกษาในการพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ
2. ท่านคิดว่าการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมและการเรียนการสอนเชิงระบบมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร
จงอธิบายและให้เหตุผลสนับสนุนคำตอบ
ตอบ การเรียนการสอนแบบดั้งเดิม
ข้อดี คือ
- มีตัวเลือกในการเรียนเยอะกว่า
- มีโอกาสในการทำงานในมหาวิทยาลัย
- มีสังคมและสภาพแวดล้อมที่ดีกว่า
- ได้สัมผัสกับประสบการณ์ในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย
ข้อเสีย คือ
- ค่าใช้จ่ายสูงกว่า
- ข้อกำหนดคุณสมบัติในการเข้าเรียนเยอะและเข้มงวด
- การเรียนการสอนไม่ตอบสนองความสามารถของนักเรียน
- การประเมินไม่มีคุณภาพและไม่หลากหลาย
การเรียนการสอนเชิงระบบ
ข้อดี
คือ
- มีการประเมินตามความต้องการและจำเป็น
หลากหลาและตรงวัตถุประสงค์
- มีการกำหนดวัตถุประสงค์ก่อนเรียน
ทำให้ผู้เรียนทราบว่าต้องเรียนรู้อะไร
- มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดี
- นักเรียนได้รับความรู้ตามวัตถุประสงค์
- นักเรียนได้เรียนในรูปแบบที่หลากหลาย
ข้อเสีย
คือ
- นักเรียนอาจจะได้รับความกดดันทางการเรียน
- นักเรียนบางกลุ่มอาจจะไม่ได้รับความรู้เท่าที่ควร
- ค่าใช้จ่ายต่างๆมีมาก
คำถามท้ายบทที่ 2
1. จากเนื้อหาบทที่ 2 เรื่อง
วิธีการสอนและการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เราจะเห็นได้ว่ามีวิธีการสอนและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่หลากหลายท่านคิดว่าวิธีการสอนแบบใดที่มีความน่าสนใจต่อตัวท่านมากที่สุดมา 3 อันดับแรก เพราะเหตุใด จงอธิบายและให้เหตุผล
ตอบ 1. วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving
Method) เป็นวิธีที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายและคงทน
เป็นแนวคิดของ จอห์น ดิวอี้ โดยอาศัยหลักวิธีการสอนที่ใช้แก้ปัญหาของนักเรียน
โดยครูเป็นผู้ชี้แนะเท่านั้น ซึ่งวิธีนี้มีขั้นตอน คือ
1.ขั้นกำหนดปัญหา
ผู้สอนและผู้เรียนอาจร่วมกันตั้งปัญหา ปัญหาที่นำมานั้นอาจมาจากแหล่งต่างๆ
2.ขั้นตั้งสมมติฐาน
การตั้งสมมติฐานเป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหา
โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ช่วยในการคาดคะเน
3.ขั้นวางแผนแก้ปัญหา4.ขั้นการเก็บและการรวบรวมข้อมูล ผู้เรียนจะศึกษาค้นคว้าความรู้จากแหล่งต่างๆ เพื่อนำข้อมูลมาทดสอบสมมติฐาน
5.ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน ผู้เรียนก็นำข้อมูลนั้นๆ มาพิจารณาว่าจะน่าเชื่อถือหรือไม่ประการใด เพื่อนำข้อมูลนั้นๆ ไปวิเคราะห์และทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่
6.ขั้นสรุปผล เป็นขั้นที่นำข้อมูลมาพิจารณาแปลความหมายระหว่างสาเหตุกับผลที่เกิดขึ้น
ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ ได้แก่
1.การเสนอปัญหาที่น่าสนใจจะทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน
2.ผู้เรียนได้ฝึกคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง มีการฝึกทักษะ การสังเกต วิเคราะห์ หาเหตุผลใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ
3.ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับการทำกิจกรรมกลุ่ม เป็นการฝึกวิถีชีวิตประชาธิปไตย
4.ผู้เรียนได้ฝึกการค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ทำให้ได้รับประสบการณ์
การเรียนรู้ที่หลากหลาย
5.ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ตรง เป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
2. วิธีการสอนแบบ 4 MAT เป็นแผนการสอนที่ประยุกต์มาจากแบบใยแมงมุม แต่กิจกรรมจะนั้น 4 ขั้นตอนหรือ
ใช้กับผู้เรียนที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคล คือ
ขั้นที่ 1 Why (ทําไม) เพื่อตั้งคําถาม กระตุ้นให้เด็กสนใจในเรื่องที่เรียน
ขั้นที่ 2 What (อะไร) เป็นการอธิบายความเข้าใจการจัดการศึกษาด้วยตนเอง
ขั้นที่ 3 How (ทําอย่างไร) เป็นการนําไปปฏิบัติการนําไปใช้
ขั้นที่ 4 If (ถ้า...) เป็นการกระตุ้น
เพราะจะการสอนแบบ 4 MAT จะช่วยให้การสอนมีกระบวนการที่มีประสิทธิภาพและเข้าใจในการสอนได้ง่ายขึ้น
3.วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียน(Learning Center)
เป็นวิธีการสอนที่ทำให้ผู้เรียนได้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน
โดยแบ่งบทเรียนออกเป็น4-6 กลุ่ม
แต่ละศูนย์ประกอบกิจกรรมแตกต่างกันออกไปตามที่กำหนดไว้ในชุดการสอน
แต่ละกลุ่มจะมีสื่อการเรียนที่จัดไว้ในกล่องวางบนโต๊ะ
โดยแต่ละกลุ่มหมุนเวียนกันประกอบกิจกรรมตามศูนย์ต่างๆ แห่งละ 15-20 นาที จนครบทุกศูนย์
ตอบ วิธีการสอนและการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีความสำคัญและประโยชน์ต่อนักเรียน คือ
- ผู้เรียนได้เรียนรู้จากกิจกรรมและรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายน่าสนใจ
- ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
- ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง
- ผู้เรียนเกิดทักษะอื่นๆ
เช่น ทักษะการทำงาน ทักษะสังคม ทักษะการแก้ปัญหา
วิธีการสอนและการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีความสำคัญและประโยชน์ต่อครูผู้สอน คือ
- มีรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายทำให้สามารถจัดการเรียนการสอนที่ไม่น่าเบื่อ
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
- ปรับปรุงการเรียนการสอนได้อย่างรวดเร็ว
- สามารถยกระดับความสามารถของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง
วิธีการสอนและการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีความสำคัญและประโยชน์ต่อสถานศึกษา คือ
- ทำให้สถานศึกษามีมาตรฐานและผลสัมฤทธิ์ที่ดี
- มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของสถานศึกษาที่ชัดเจน
- การบริหารงานหรือการขับเคลื่อนสถานศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- ตอบสนองความต้องการของหลักสูตรได้อย่างถูกต้อง
3. จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 2 เรื่องวิธีการสอนและการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้อยู่ในรูปของแผนผังความคิด
(Mind Mapping) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้มากที่สุด
คำถามท้ายบทที่ 3
1.จากเนื้อหาบทที่ 3 เรื่อง รูปแบบการเรียนการสอน
เราจะเห็นได้ว่ามีรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย
ท่านคิดว่ารูปแบบการเรียนการสอนแบบใดที่มีความน่าสนใจในการพัฒนาการเรียนการสอนมากที่สุดมา 3 อันดับแรก และเพราะเหตุใด จงอธิบายและให้เหตุผลสนับสนุนคำตอบ
ตอบ 1.รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ (Role
Playing Model) พัฒนาขึ้นโดย แชฟเทลและแชฟเทล (Shaftel
and Shaftel, 1967: 67-71) ซึ่งให้ความสำคัญกับปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคล
เขากล่าวว่า บุคคลสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
และความรู้สึกนึกคิดของบุคคลก็เป็นผลมาจากมีการปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง
และได้สั่งสมไว้ภายในลึก ๆ โดยที่บุคคลอาจไม่รู้ตัวเลยก็ได้
การสวมบทบาทสมมติเป็นวิธีการที่ช่วยให้บุคคลได้แสดงความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ
ที่อยู่ภายในออกมา ทำให้สิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่เปิดเผยออกมา
และนำมาศึกษาทำความเข้าใจกันได้ ช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง
เกิดความเข้าใจในตนเอง ในขณะเดียวกัน การที่บุคคลสวมบทบาทของผู้อื่น
ก็สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในความคิด ค่านิยม
และพฤติกรรมของผู้อื่นได้เช่นเดียวกัน
2. รูปแบบการเรียนการสอนโดยตรง
(Direct Instruction Model) จอยส์ และวีล (Joyce
and Weil, 1996: 334) อ้างว่า
มีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยที่ชี้ให้เห็นว่า การสอนโดยมุ่งเน้นการให้ความรู้ที่ลึกซึ้ง
ช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกว่ามีบทบาทในการเรียน ทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจในการเรียนรู้และช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียน
นอกจากนั้นยังพบว่า บรรยากาศการเรียนที่ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้เรียน
สามารถสกัดกั้นความสำเร็จของผู้เรียนได้ ดังนั้น ผู้เรียนจึงจำเป็นต้องระมัดระวัง
ไม่ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกในทางลบ เช่น การดุด่าว่ากล่าว การแสดงความไม่พอใจ
หรือวิพากษ์วิจารณ์ผู้เรียน
3. การจัดการเรียนรู้แบบ STAD เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ซึ่งกำหนดให้นักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกัน ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มๆ ละ 4-5 คน ซึ่งประกอบด้วย นักเรียนที่เรียนเก่ง 1 คน นักเรียนที่เรียนปานกลาง 2-3 คน
และนักเรียนที่เรียนอ่อน 1 คน
2. จงหาตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้
จำนวน 1 แผ่น
ที่ได้นำแนวทางการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนแบบต่างๆที่ปรากฏในเนื้อหาบทที่3โดยค้นหาและดาวน์โหลดจากงานวิจัยตามฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์(Thailis)หรือแหล่งสืบค้นวิทยานิพนธ์ตามเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยภายในประเทศ เช่น
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นต้น แล้วออกมานำเสนอหน้าขั้นเรียน
3. จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 3 เรื่อง รูปแบบการเรียนการสอน ให้อยู่ในรูปของแผนผังความคิด (Mind
Mapping) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์มากที่สุด
คำถามท้ายบทที่ 4
1.ในฐานะที่ท่านเป็นผู้ออกแบบการเรียนการสอน
ท่านคิดว่ากลยุทธ์การเรียนการสอนมีประโยชน์ต่อตัวท่านและผู้เรียนอย่างไร
จงอธิบายและให้เหตุผลสนับสนุน
ตอบ กลยุทธ์การเรียนการสอนมีประโยชน์ต่อครูผู้สอน
คือ สามารถนำไปใช้ในการนำเสนอเนื้อหาวิชาให้กับผู้เรียนและเกิดประสิทธิภาพต่อผู้เรียน
ทำให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจมากขึ้นและการเรียนการสอนประสบผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว
กลยุทธ์การเรียนการสอนมีประโยชน์ต่อผู้เรียน คือ ทำให้ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ที่รวดเร็ว
เข้าใจง่ายและเกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
2.จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 4 เรื่อง กลยุทธ์การเรียนการสอน ให้อยู่ในรูปของแผนผังความคิด (Mind
Mapping) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์มากที่สุด
คำถามท้ายบทที่ 5
1. ตามความเข้าใจของท่าน
การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีความหมายว่าอย่างไรและเหตุใดการปฏิรูปการศึกษาจึงให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว
ตอบ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
หมายถึง การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เรียนรู้
โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ
และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
และนักเรียนมีโอกาสนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น
การปฏิรูปการศึกษาจึงให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการศึกษาจึงให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้เพราะเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงและเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
2. จากตัวอย่างของวิธีการสอนตามเส้นทางดำเนินเรื่องในหน้า 230 และ 231 ในหัวข้อเรื่องป่าไม้ ท่านคิดว่า
ผู้เรียนจะได้พัฒนาตนเองในด้านใดบ้าง
ที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จงอธิบายและให้เหตุผล
ตอบ วิธีการสอนตามเส้นทางดำเนินเรื่องในหน้า 230 และ 231 ในหัวข้อเรื่องป่าไม้ ผู้เรียนจะได้พัฒนาตนเอง ดังนี้
1.เทคนิคการสร้างความรู้ด้วยตัวเอง ในการเรียนตามทฤษฎี Constructionism ผู้เรียนจะมีบทบาทเป็นผู้ปฎิบัติและสร้างความรู้ไปพร้อมๆกันด้วยตัวของเขาเอง(ทำไปและเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน)
ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้และพัฒนาความคิดด้วยตนเองทำให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทน
2.เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับคนอื่น ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ กลุ่มละ 4-5 คน โดย สมาชิกในกลุ่มมีระดับความสามารถแตกต่างกัน
สมาชิกทุกคนมีบทบาทหน้าที่ร่วมกันในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
มีเป้าหมายและมีโอกาสได้รับรางวัลของความสำเร็จร่วมกัน
วิธีการแบบนี้ผู้เรียนจะมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในเชิงบวก
มาปฏิสัมพันธ์แบบเผชิญหน้ากัน ได้มีโอกาสรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม
ได้พัฒนาทักษะทางสังคมและได้ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานเพื่อสร้างความรู้ให้กับตนเอง
3. เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ความรู้ได้โดยสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนต้องแก้ปัญหาและนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้
หรือให้ผู้เรียนแสดงความรู้นั้นออกมาในลักษณะต่างๆ
3. จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 5 เรื่อง การจัดการเรียนรู้ตาม
แนวทางการปฏิรูปการศึกษา
ให้อยู่ในรูปของแผนผังความคิด (Mind
Mapping) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์มากที่สุด
คำถามท้ายบทที่ 6
1. สื่อการเรียนการสอนคืออะไร
มีประโยชน์อย่างไร ท่านเคยมีความประทับใจจากการที่ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ในรายวิชาที่มีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพหรือไม่
และผู้สอนใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ
ที่เป็นบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนเทคนิควิธีการ
ซึ่งเป็นตัวกลางทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ได้อย่างง่ายและรวดเร็วเป็นเครื่องมือและตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็วเป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้
ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน มีดังนี้
1. ช่วยให้นักเรียนรับรู้ แจ่มแจ้งชัดเจนขึ้น
2. ช่วยให้นักเรียนสนใจในบทเรียนมากขึ้นเพราะสื่อการเรียนการสอนจะเร้าความสนใจ
ทำให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในเรื่องที่เรียน และมีส่วนร่วมในการเรียน
3. ช่วยประหยัดเวลาเรียน โดยใช้เวลาน้อย แต่นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น
4. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความประทับใจ และจดจำได้นาน
5. ช่วยให้การเรียนมีประสิทธิภาพขึ้น
6. ส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาในการเรียนรู้
7. ทำให้นักเรียนเกิดการอยากรู้อยากเห็น เพราะเป็นการให้ข้อเท็จจริง
8. ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาความคิด
9. สะดวกในการสอนของครู
10. สามารถสัมผัสและรับรู้ได้โดยง่ายอย่างถูกต้องเหมาะสม
เคยมีความประทับใจเกี่ยวกับการใช้สื่อในการประกอบการเรียนการสอน
โดยครูใช้สื่อจากสถานที่จริง ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้จากของจริง
จึงมีความน่าสนใจและตื่นเต้น
2. หากท่านมีโอกาสจัดการเรียนการสอนเรื่อง “อาหารพื้นเมืองอีสาน” ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ท่านจะเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนอะไรบ้าง เพราะเหตุใด จงอธิบาย
ตอบ 1.การศึกษานอกสถานที่ ซึ่งจะให้นักเรียนออกไปศึกษาอาหารพื้นเมืองของอีสานในแต่ละหมู่บ้านร่วมกันแล้วนำความรู้มาสรุปร่วมกัน
2. ของจริงและตัวอย่าง จะนำอาหารพื้นเมืองอีสานมาให้นักเรียนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติการทำอาหารพื้นเมืองอีสาน
3. จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 6 เรื่อง การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ให้อยู่ในรูปของแผนผังความคิด (Mind Mapping) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์มากที่สุด
คำถามท้ายบทที่ 7
1. จากการศึกษาข้อมูลในบทที่ 7 ท่านคิดว่าการวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้นั้นมีความยาก/ความง่ายเพียงใดและขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
สำหรับตัวท่านแล้ว ขั้นตอนใดมีความยาก/ง่ายที่สุดในการพัฒนา 3 อันดับแรก เพราะเหตุใด จงอธิบาย
ตอบ การวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้นั้นมีความยาก/ความง่ายแตกต่างกันไปแล้วแต่ละรายวิชา
ซึ่งจะยากในการวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้ในสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่เราต้องการ
ซึ่งขั้นตอนที่มีความยาก/ง่าย มีดังนี้
1. ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร
ได้แก่ หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง เวลาเรียนแนว
ดำเนินการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ตอบสนองจุดประสงค์การเรียนรู้
และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การวัดและการประเมินการเรียน
คำอธิบายในแต่ละกลุ่มประสบการณ์ ซึ่งระบุเนื้อหาที่ต้องให้นักเรียนได้เรียน
ตามลำดับขั้นตอนกระบวนการที่ต้องให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ
และจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้
เพราะถ้าเราวิเคราะห์หลักสูตรผิดจะส่งผลต่อการวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด2. ลำดับความคิดรวบยอดที่จัดให้นักเรียนแต่ละระดับชั้นได้เรียนรู้ก่อนหลัง โดยพิจารณาขอบข่ายเนื้อหา และกิจกรรมที่กำหนดไว้ในคำอธิบายรายวิชา เพราะเห็นความคิดที่ผู้เรียนจะต้องได้รับเมื่อเรียนจบ
3. กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดไว้ในคำอธิบายรายวิชา หรืออาจพิจารณาจากกิจกรรมที่เหมาสมกับเนื้อหาสาระ เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จึงต้องมีการวางแผนที่ดีและรัดกุม
2. ในประโยคที่ว่า “ในปัจจุบัน การวัดผลไม่ใช่เพียงแค่การทดสอบหรือสอบเพียงอย่างเดียวแต่ยังต้องประเมินสภาพแท้จริงของผู้เรียน” สำหรับท่านประโยคนี้มีความหมายว่าอย่างไรและมีวิธีการปฏิบัติจริงได้อย่างไร
ตอบ การวัดและประเมินตามสภาพจริง คือ กระบวนการวัดผลการเรียนรู้ตามแนวทาง 2 ประการ คือ
1. วัดครบถ้วนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ได้จริง
- วัดความสามารถทางความรู้ ความคิดได้จริง
- วัดความสามารถในการปฏิบัติได้จริง
- วัดคุณลักษณะทางจิตใจได้จริง
2. วัดได้ตรงความเป็นจริง คือ สิ่งที่วัดได้นั้นเป็นข้อมูล เป็นการแสดงพฤติกรรมที่สะท้อนความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนทั้งความสามารถทางความรู้ ความคิด ความสามารถในการปฏิบัติและคุณลักษณะทางจิตใจ มีความคลาดเคลื่อนผิดพลาดน้อยที่สุด ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ด้อยความสามารถได้คะแนนสูง ตัดความผิดพลาดที่ผู้มีความสามารถสูงกลับได้คะแนนน้อยสามารถประเมินสภาพแท้จริงของผู้เรียนโดยการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนจารการเรียนโดยไม่มีการบิดเบือนข้อมูล
3. จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 7 เรื่อง การวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้ ให้อยู่ในรูปของแผนผังความคิด (Mind Mapping) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์มากที่สุด
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.
พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น