บทที่ 1
แนวคิดการออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบ คืออะไร
การออกแบบ คือ
เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ประสบการณ์ความรู้ และทักษะอย่างกว้างขวาง
เพื่อที่จะแสวงหาทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดภายในข้อจำกัดที่มีอยู่
การออกแบบเกี่ยวข้องการระบุปัญหาและทำปัญหาให้กระจ่างประกอบไปด้วยการตอบสนองที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์
การออกแบบการเรียนการสอน
(instructional
design) จึงเป็นกระบวนการของการป้องกันด้วยการวางแผนแก้ไขปัญหาก่อนการเรียนการสอน
โดยการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือ เงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ดังนั้น “การออกแบบการเรียนการสอน” คือวิธีการตัดสินใจพื้นฐานที่ครูจะต้องสร้างขึ้นและนำไปใช้
หลักแนวคิดการออกแบบการเรียนการสอน
แนวคิดของ ADDIE
1. ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis)
- กำหนดหัวเรื่องและวัตถุประสงค์ทั่วไป
- วิเคราะห์ผู้เรียน
- วิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
- วิเคราะห์เนื้อหา
2. ขั้นการออกแบบ (Design Phase)
- การออกแบบบทเรียน
- การออกแบบผังงาน (Flowchart)
- การออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)
- การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design)
3. ขั้นพัฒนา (Development)
- การเตรียมการ
- การสร้างบทเรียน
- การสร้างเอกสารประกอบการเรียน
4. ขั้นการนำไปทดลองใช้ ( Imprementation)
การนำบทเรียนไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบ
ความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น ปรับปรุงแก้ไขก่อนนำไปใช้ กับกลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน และนำไป ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและประสิทธิภาพ
5. ขั้นการประเมินผล ( Evaluation)
การประเมินผล คือ การเปรียบเทียบกับการเรียน
การสอนแบบปกติ โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เรียนด้วยบทเรียน ที่สร้างขึ้น 1 กลุ่ม
และเรียนด้วยการสอนปกติอีก 1 กลุ่ม หลังจากนั้น
จึงให้ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ทำแบบทดสอบชุดเดียวกัน และแปลผล คะแนนที่ได้ สรุปเป็นประสิทธิภาพของบทเรียน
แนวคิดของคอนสตัคติวิสต์
1. การสร้างการเรียนรู้ ( Learning
Constructed)
ความรู้จะถูกสร้างจากประสบการณ์
การเรียนรู้เป็น กระบวนการสร้างสิ่งแทนความรู้ ในสมองที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างขึ้น
2. การแปลความหมายของแต่ละคน ( Interpretationpersonal)
การเรียนรู้เป็นการแปลความหมายตามสภาพจริง
หรือประสบการณ์ของแต่ละคน
3. การเรียนรู้เกิดจาการลงมือกระทำ ( Learning
active)
การเรียนรู้เป็นการที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำซึ่งเป็นการสร้างความหมายโดยอาศัยพื้นฐานของประสบการณ์
4. การเรียนรู้ที่เกิดจากการร่วมมือ ( Learning
Collaborative)
เกิดจากแนวคิดที่หลากหลายในกลุ่ม และปรับเปลี่ยนสร้างเป็นสิ่งแทนความรู้ในสมอง
ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับคนอื่นจากการร่วมแสดงแนวคิดที่หลากหลายที่จะทำให้เกิดปัญหาเฉพาะนำไปสู่การเลือกจุดหรือสถานการณ์ที่ทุกคนยอมรับในระหว่างกัน
5. การเรียนรู้ที่เหมาะสม ( Learning
Situated)
ควรเกิดขึ้นในสภาพชั้นเรียนจริง
( Situated or anchored) การเรียนรู้ต้องเหมาะสมกับบริบทของสภาพจริง
หรือสะท้อนบริบทที่เป็นสภาพจริง
6. การทดสอบเชิงการบูรณาการ ( Testing
Integrated)
การทดสอบควรจะเป็นการบูรณาการเข้ากับภารกิจการเรียน ( Task)
ไม่ควรเป็นกิจกรรมที่แยกออกจากบริบทการเรียนรู้ “ การวัดการเรียนรู้ เป็นวิธีการที่ผู้เรียนใช้โครงสร้างความรู้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้เกิดการคิดในเนื้อหาการเรียนรู้นั้น
ๆ “
แนวคิดของโรเบิร์ต กาเย่ ( Robert
Gange' )
1. เร่งเร้าความสนใจ ( Gain Attention )
2 . บอกวัตถุประสงค์ ( Specify Objective )
3 . ทบทวนความรู้เดิม ( Activate Prior Knoeledge
4 . นำเสนอเนื้อหาใหม่ ( Present New Information )
5 . ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ ( Guide Learning )
6 . กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน ( Elicit
Response )
7 . ให้ข้อมูลย้อนกลับ ( Provide Feedback )
8 . ทดสอบความรู้ใหม่ ( Assess Performance
)
9 . สรุปและนำไปใช้ ( Review and Transfer )
1. เร่งเร้าความสนใจ ( Gain Attention )
กระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจกับบทเรียนและเนื้อหาที่จะเรียน
การเร้าความสนใจผู้เรียนนี้อาจทำได้โดย การจัดสภาพแวดล้อมให้ดึงดูดความสนใจ เช่นการใช้ภาพกราฟิก
ภาพเคลื่อนไหว และการใช้เสียงประกอบบทเรียน
2. บอกวัตถุประสงค์ ( Specify Objective )
การบอกให้ผู้เรียนทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียนนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้โดยการเลือกศึกษาเนื้อหาที่ต้องการศึกษาได้เอง
ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้ทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียนล่วงหน้าทำให้ผู้เรียนสามารถมุ่งความสนใจไปที่เนื้อหาบทเรียนที่เกี่ยวข้อง
3. ทบทวนความรู้เดิม ( Activate Prior Knowledge
)
การทบทวนความรู้เดิมช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาใหม่ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
รูปแบบการทบทวนความรู้เดิมในบทเรียนบนเว็บทำได้หลายวิธีเช่น กิจกรรมการถาม - ตอบคำถาม
หรือการแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนอภิปรายหรือสรุปเนื้อหาที่ได้เคยเรียนมาแล้ว เป็นต้น
4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ ( Present New
Information )
การนำเสนอบทเรียนสามารถทำได้หลายรูปแบบด้วยกันคือ
การนำเสนอด้วยข้อความ รูปภาพ เสียง หรือแม้กระทั่งวิดิทัศน์ อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ผู้สอนควรให้ความสำคัญก็คือผู้เรียน
ผู้สอนควรพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้การนำเสนอบทเรียนเหมาะสมกับผู้เรียนมากที่สุด
5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ ( Guide
Learning )
การชี้แนวทางการเรียนรู้หมายถึงการชี้แนะให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนใหม่ผสมผสานกับความรู้เก่าที่เคยได้เรียนไปแล้ว
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วและมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น
6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน ( Elicit
Response )
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน นักการศึกษาต่างทราบดีว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นจากการที่ผู้เรียนได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนโดยตรง
ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอน จึงควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ ( Provide Feedback )
การที่ผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนได้โดยตรงอย่างใกล้ชิด เนื่องจากบทบาทของผู้สอนนั้น
เปลี่ยนจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แต่เพียงผู้เดียว มาเป็นผู้ให้คำแนะนำและช่วยกำกับการเรียนของผู้เรียนรายบุคคล
ทำให้ผู้สอนสามารถติดตามก้าวหน้าและสามารถให้ผลย้อนกลับแก่ผู้เรียนแต่ละคนได้ด้วยความสะดวก
8. ทดสอบความรู้ใหม่ ( Assess Performance
)
การทดสอบความรู้ใหม่หลังจากศึกษาบทเรียน เรียกว่า การทดสอบหลังบทเรียน
เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง นอกจากนี้จะยังเป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่
เพื่อที่จะไปศึกษาในบทเรียนต่อไปหรือต้องกลับไปศึกษาเนื้อหา
9. สรุปและนำไปใช้
( Review and Transfer )
การสรุปและนำไปใช้ จัดว่าเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนคติของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญๆ
รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว
ในขณะเดียวกัน บทเรียนต้องชี้แนะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือให้ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม
เพื่อแนะแนวทางให้ผู้เรียนได้ศึกษาต่อในบทเรียนถัดไป หรือนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นต่อไป
แนวคิดของดิคค์และคาเรย์ ( Dick and
Carey model)
1. การกำหนดเป้าหมายของการสอน (Identify
Instructional Goals)
เป็นการกำหนดความมุ่งหมายการสอน ซึ่งต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษา
วิเคราะห์ความจำเป็น (Needs Analysis) และวิเคราะห์ผู้เรียน
2. ดำเนินการวิเคราะห์การเรียนการสอน (Conduct
Instructional Analysis)
เป็นการวิเคราะห์ภารกิจ หรือวิเคราะห์ขั้นตอนการดำเนินการสอน
ผลการวิเคราะห์การสอนที่ได้ จะเป็นการจัดหมวดหมู่ของภารกิจ (Task
Classification) ตามลักษณะของจุดมุ่งหมายการสอน
3. กำหนดพฤติกรรมก่อนเรียนและลักษณะผู้เรียน (Identify
Entry Behaviors, Characteristics)
เป็นการการศึกษาพฤติกรรมเบื้องต้นและคุณลักษณะของผู้เรียน
(Identify Entry Behaviors) ว่าเป็นผู้เรียนระดับใด มีพื้นความรู้ มากน้อย
เพียงใด
4. เขียนจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม (Write
Performance Objective)
เป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะหรือจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม
และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการสอน เพื่อช่วยให้มองเห็นแนวทาง การเรียนการสอน เป็นแนวทางในการวางแผนการจัดสภาพแวดล้อมการเรียน
ช่วยให้เห็นแนวทางในการสร้างแบบทดสอบ ช่วยผู้เรียนให้เรียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
5. พัฒนาข้อสอบอิงเกณฑ์ (Develop Criterion
– Referenced Test Items)
เป็นการสร้างแบบทดสอบแบบ อิงเกณฑ์ เพื่อประเมินการเรียนการสอน
6. พัฒนายุทธวิธีการสอน (Develop
Instructional Strategies)
เป็นแผนการสอนหรือเหตุการณ์การสอน ที่ช่วยให้ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามจุดมุ่งหมาย
7. พัฒนาและเลือกวัสดุการเรียนการสอน (Develop
and Select Instructional Materials) เป็นการพัฒนาและเลือกสื่อ การเรียนการสอนทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์
8. ออกแบบและดำเนินการประเมินเพื่อการปรับปรุง (Design
and Conduct Formative Evaluation)
9. การปรับปรุงการสอน (Revise Instruction)
10. การออกแบบและดำเนินการประเมินระบบการสอน (Design
and Conduct Summative E valuation)
เป็นขั้นการแก้ไขและปรับปรุงการสอน ตั้งแต่ขั้นที่
2 ถึงขั้นที่ 8
แนวคิดของเกอร์ลาชและอีลาย ( Ger lach
and Ely Model)
1. การกำหนด เป็นการกำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียน ได้รู้อะไร แค่ไหน
อย่างไร
2. การกำหนดเนื้อหา (Specify Content) เป็นการกำหนดว่า ผู้เรียนต้องเรียนอะไรบ้างจึงจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
3. การวิเคราะห์ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน (Analyze
Learner Background Knowledge) เป็นการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบ ความสามารถพื้นฐานของผู้เรียน
4. เลือกวิธีสอน (Select Teaching
Method) ทำการเลือกวิธีสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย
5. กำหนดขนาดของกลุ่ม (Determine Group
Size) เลือกว่า จะสอนเป็นกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่อย่างไร
6. กำหนดเวลา (Time Allocation) กำหนดว่าจะใช้เวลาในการสอนมากน้อยเพียงใด
7. กำหนดสถานที่ เครื่องอำนวยความสะดวก (Specify
Setting and Facilities) กำหนดว่าจะสอนที่ไหน ต้องเตรียมอะไรบ้าง
8. เลือกแหล่งวิชาการ (Select Learning
Resources) จะต้อง ใช้สื่ออะไร อย่างไร
9. ประเมินผล (Evaluation) การสอนตรงตามจุดมุ่งหมาย
หรือไม่
10. วิเคราะห์ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการปรับปรุงแก้ไข
(Analyze Feedback for Revision) เป็นการวิเคราะห์ว่าถ้าการสอน ไม่ได้ผลตามจุดมุ่งหมายจะปรับปรุงแก้ไขตรงไหน
อย่างไร
พื้นฐานสำคัญของการออกแบบการเรียนการสอน
1. ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน
ดิคและคาเรย์ (Dick and Carey) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนการสอนที่ต้องการ
โดยตอบคำถามให้ได้ว่าจะสอนอะไรและสอนอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมาย และจะทราบได้ อย่างไรว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว
ดังนั้นอาจสรุปได้ว่าความต้องการจำเป็นในการออกแบบการเรียนการสอน คือ
การแก้ปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่หลากหลาย
เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพด้วยวิธีการเชิงระบบที่ให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนาปัจเจกบุคคล
และมนุษย์โดยทั่วไปและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์เรียนรู้ได้อย่างไร
จากแนวคิดของนักการศึกษา ดังกล่าว อาจสรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการแก้ปัญหาการเรียนการสอน โดยวิเคราะห์สถานการณ์ หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดหมาย โดยอาศัยความรู้จากหลายๆทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนการสอน และอื่นๆ
2. นิยามการออกแบบการเรียนการสอน
ไทเลอร์ (Tyler, 1974 : 1) คือ
1.จะออกแบบและพัฒนาโปรแกรมนี้ไว้เพื่อใครเป็นการพิจารณาคุณลักษณะผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม
2.ต้องการให้ผู้เรียน หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้อะไร หรือมีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง เป็นการกำหนดจุดหมายของการเรียน
3.ผู้เรียนจะเรียนรู้เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่างๆได้ดีที่สุดอย่างไร เป็นการกำหนดวิธีการสอนและกิจกรรมของการเรียนการสอน
4.จะได้รู้อย่างไรว่า ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ เป็นการกำหนดกระบวนการประเมินผล
ชีลส์
และกลาสไกว์ (Seels & Glasgow, 1990,
p.4) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียน การสอน คือกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบที่นำเอาทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการสอนมาทำให้
การเรียนการสอนมีคุณภาพ
กาเย่ บริกส์
และวาเกอร์ (Gagne, Briggs and Wager 1992 : 20)
ได้ให้ความหมายของการออกแบบการเรียนการสอนโดยเริ่มตั้งแต่การนิยามระบบการเรียนการสอน
(instructional systems)
โดยนิยามว่าระบบการเรียนการสอนเป็นการจัดทรัพย์กรและวิธีการที่ใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้
ระบบการเรียนการสอนมีรูปแบบเฉพาะที่หลากหลายและเกิดขึ้นในหลายสถาบัน เช่น
ในโรงเรียนมัธยมศึกษา
สมิทและราแกน (Smith & Ragan, 1999, p. 2) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการที่เป็นระบบในการนำหลักการเรียนรู้และหลักการสอนไปวางแผนสื่อ
วัสดุ อุปกรณ์ การเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
3. ประโยชน์ของการออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอนมีประโยชน์ดังนี้ ตาม ไชยยศ
เรืองสุวรรณ ได้กล่าวว่า
1.
ผู้บริหารหรือผู้จัดการโปรแกรมการศึกษาและการเรียนการสอนย่อมต้องการความมั่นใจในประสิทธิภาพ
และประสิทธิภาพผลของการเรียนโดยใช้งบประมาณประหยัดที่สุด
2. นักออกแบบการเรียนการสอน
ย่อมต้องการความมั่นใจว่าโปรแกรมที่ออกแบบไว้เป็นโปรแกรมที่น่าพอใจ
ซึ่งตัวบ่งชี้ที่สำคัญในความพอใจก็คือผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในเวลาที่เหมาะสม
3. ครูผู้สอนย่อมต้องการที่จะเห็นผู้เรียนได้รับความรู้
ความสามารถอื่นๆที่จำเป็น รวมทั้งต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน
4. ผู้เรียนต้องการความสำเร็จในการเรียน
ได้รับประสบการณ์การเรียนด้วยความสนุกสนานและพอใจ
4. แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไป
แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไป
มีความง่ายในการใช้มาก แต่ต้องใช้ด้วยความประณีต และปรับปรุงอยู่เสมอ
อย่างไรก็ตามแบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนสามารถจำลองได้หลายแบบ เช่น แผนภาพ
โมเดล แผนผัง เป็นต้น โดยหลักการพื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอนที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
คือ แบบจำลอง ADDIE ที่มีองค์ประกอบ
5 ขั้นตอน ดังนี้
1.ขั้นการวิเคราะห์ (analysis) เป็นกระบวนการของการระบุว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องเรียน
2.ขั้นการออกแบบ (design) ซึ่งเป็นกระบวนการของการระบุว่าจะเรียนอย่างไร
3.ขั้นการพัฒนา (development) เป็นกระบวนการของการจัดการและการผลิตวัสดุอุปกรณ์
4.ขั้นการนำไปใช้ (implementation) เป็นกระบวนการของการกำหนดโครงการในบริบทของโลกแห่งความจริง
5.ขั้นการประเมินผล (evaluation) เป็นกระบวนการของการตัดสินใจตกลงใจต่อความเพียงพอของการเรียนการสอน
5.บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน (designer’s role) สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่นำเสนอว่าต้องอาศัยเทคนิค
หรือไม่ต้องการอาศัยเทคนิค และขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของทีมการออกแบบ
เนื้อหาที่ต้องใช้เทคนิคสูง
ผู้ออกแบบจำเป็นต้องให้คำแนะนำในการออกแบบกับผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา (content
expert)
ถ้าเนื้อหานั้นไม่ต้องใช้เทคนิคที่สูงมากจนเกินไปผู้ออกแบบก็สามารถจัดทำได้อย่างอิสระมากขึ้น
ซึ่งบทบาทของผู้ออกแบบสามารถมีได้หลากหลายขึ้นอยู่กับความชำนาญหรือความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ
เช่น ด้านเนื้อหาวิชา
6.1 งานออกแบบ
พิสัยของงาน (job)
เป็นไปตามสถานการณ์และระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งบางครั้งผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะทำหน้าที่เป็นผู้ชำนาญการ
บางครั้งเป็นผู้ปฏิบัติการที่มีสมรรถภาพ เป็นผู้นิเทศ
เป็นผู้ชำนาญการด้านสื่อและเทคโนโลยีการเรียนการสอน เป็นผู้จัดการเรียนการสอน
เป็นต้น
6.2 ผลผลิตของการออกแบบ
งานการออกแบบการเรียนการสอนจะมีขอบเขตและความซับซ้อนที่แตกต่างกัน
ซึ่งสามารถนำไปสู่ความแตกต่างในกระบวนการและผลผลิตของการออกแบบการเรียนการสอน เช่น
แบบการสอน ชุดการสอนรายวิชา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเรียนการสอนด้วยตนเอง
โดยอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน หลักสูตร และแบบฝึกปฏิบัติ
7.สมรรถภาพของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
7.สมรรถภาพของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องมีความสามารถในการคิดทั้งเชิงรูปธรรม
และนามธรรม มีความคงเส้นคงวา มีเหตุผล มีความถนัด มีความสนุกสนานในการทำงาน
ในการสร้างแบบจำลอง มีความสามารถในการเขียนและการเรียบเรียง มีความเข้าใจในการทำงานกับผู้อื่น
ยอมรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ หรืออีกนัยหนึ่ง มีเจตคติ มีค่านิยมที่ดีต่องาน
มีความรู้เฉพาะทาง และมีทักษะเชาว์ปัญญาหรือมีวิธีการ รู้จักสังเกต
วิเคราะห์ใช้เทคนิคการวัดผลและสร้างแบบทดสอบ
ตลอดจนมีทักษะทางสถิติและการติดต่อสื่อสาร
สรุป
ความรู้เบื้องต้นในการออกแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วย ความต้องการจำเป็นสำหรับการเรียนการสอน นิยามการออกแบบการเรียนการสอน ประโยชน์ของการออกแบบการเรียนการสอน แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไป บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน งานและผลิตผลของการออกแบบการเรียนการสอน และสมรรถภาพผู้ออกแบบการเรียนการสอน
ดังนั้น การออกแบบการเรียนการสอน จึงมีความสำคัญอย่างมากในการเรียน เพราะจะช่วยให้ผู้สอนได้ออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมและตรงประเด็นที่สามารถทำให้เข้าใจกับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น การออกแบบการเรียนการสอน จึงมีความสำคัญอย่างมากในการเรียน เพราะจะช่วยให้ผู้สอนได้ออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมและตรงประเด็นที่สามารถทำให้เข้าใจกับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.
พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์,
2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น