Week 8


คิดยกกำลังสอง: ทักษะสำหรับโลกอนาคต



ทักษะสำหรับโลกอนาคตหรือโลกแห่งศตวรรษที่ 21

     ทักษะที่มนุษย์ต้องปรับตัวให้กับความสามารถที่เพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆของปัญญาประดิษฐ์หรือ AI โดยเฉพาะเด็กที่ต้องก้าวให้ทันโลกในอนาคต โลกเดิมๆ ความรู้เดิมๆ จะใช้ไม่ได้แล้ว เราต้องมีทักษะโลกแห่งอนาคต หรือทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เช่น ที่เราเคยเรียนมาดาวเคราะห์มีทั้งหมด 9 ดวง แต่ปัจจุบันปรากฏว่าดาวพลูโตถูกลดฐานะเป็นดาวเคราะห์แคระ แล้วในเวลาเดียวกันก็มีดาวที่คล้ายดาวพลูโตโผล่ออกมาอีก 4 ดวง และคาดว่าจะพบอีกเป็นหมื่นๆดวง เพราะฉะนั้นความรู้ท่องจำที่ว่าระบบสุริยะจักรวาลมีดาวเคราะห์ 9 ดวง จะเป็นความรู้ที่ล้าสมัยกับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มนุษย์ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับงานที่ยังไม่มี โดยต้องใช้เทคโนโลยีที่ยังไม่เกิด เพื่อแก้ปัญหาที่ยังไม่รู้ว่าคืออะไร และการเรียนรู้ตลอดชีวิตฮิตต่อเรียนให้ได้ 4i คือ
    1. Imagination (จินตนาการ) คือการสร้างภาพขึ้นในใจ
    2. Inspiration (แรงดลใจ) คือสิ่งที่ทำให้มีแรงขับเคลื่อน
    3. Insight (ความเข้าใจลุ่มลึก)  คือ รู้อย่างลึกซึ้ง
    4. Intuition (ญาณทัศน์)  คือ ความรอบรู้จัดเจน สามารรู้โดยอัตโนมัติ

 ทักษะโลกแห่งอนาคตหรือทักษะในศตวรรษที่ 21 จะต้องมี 3 องค์ประกอบคือ
   1.Attitude (ทัศนคติ+อุปนิสัย) ต้องสอนให้เด็กคิดสร้างสรรค์ใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง
   2.Skill (ทักษะ) ต้องสอนให้เด็กสื่อสารเก่งและมีความอดทน
   3.Knowledge (ความรู้) สอนให้เด็กคิดเชิงวิพากษ์ และเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
        การศึกษาในโลกอนาคตต้องมีการเปลี่ยนแปลงคือเปลี่ยนไปสู่การเรียนรู้โดยผู้เรียนมีบทบาทมากขึ้น หรือ Active Learning ไม่ใช่ผู้สอนเป็นศูนย์กลาง เพราะวิจัยพบว่าการสอนแบบบรรยาย และจดแลคเชอร์ จะมีความรู้จากการเรียนรู้แบบนี้ไม่เกิน 20% แต่ถ้าเด็กเล่นรู้ด้วยการเล่น จะมีความรู้เพิ่มขึ้นเป็น 20-75% และวิธีที่ดีที่สุดคือการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติเอง จะสามารถมีความรับรู้ และเกิดความเข้าใจมากกว่า 75% เพราะฉะนั้นการเรียนจึงต้องเปลี่ยนจากการฟังเป็นการลงมือปฏิบัติเองแบบที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
      
   สรุป 
      โลกใบใหม่เปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิมแล้ว เราต้องเตรียมทำงานที่ยังไม่มีอยู่ในวันนี้ ใช้เทคโนโลยีที่ยังไม่เกิดแก้ปัญหาที่ยังไม่รู้ เด็กยุคต่อไปจะต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่อง และการที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่องได้นั้นต้องฝึกทักษะการเรียนรู้จากการทำ ทำให้เรียนรู้แล้วเข้าใจเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ต่อไป ถ้าไม่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องความรู้ที่มีอยู่ก็จะล้าสมัยอย่างรวดเร็ว



อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นางสาวบัณฑิตา รุจิเวชวงษ์