บทที่ 6
การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
สื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนตลอด และยังได้รับการพัฒนาไปตาการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ซึ่งก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น
อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน
สื่อการศึกษาเป็นต้น
หลักการและวิธีการเลือกใช้สื่อ
การเรียนการสอนเป็นระบบหนึ่งในระบบการศึกษา
จำเป็นต้องอาศัยสื่อ
การสอนเป็นตัวกลางเชื่อมโยงเพื่อให้ความรู้ไปสู่ผู้เรียนโดยผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจเนื้อหาที่เรียน
ได้ง่ายขึ้นผู้สอนจะต้องใช้สื่อเพื่อนำความรู้ไปสู่ผู้เรียนและผู้เรียนก็ต้องใช้สื่อการเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่สอนสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ
“สื่อการเรียนการสอน” และไม่ว่าจะเป็นการเรียน
การสอนในวิชาใดก็มีความจำเป็นที่จะต้องมีสื่อการเรียนการสอนเพื่อที่จะเป็นตัวเชื่อมโยงความรู้
จากผู้สอนไปยังผู้เรียนได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นทฤษฎีและหลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน
สื่อการสอนมีอยู่หลากหลายรูปแบบหลากหลายประเภท การเลือกสื่อการสอนมีความสำคัญมากต่อกระบวนการเรียนการสอน อย่างไรก็ตามในการเลือกสื่อการสอนพึงระลึกไว้เสมอว่า “ไม่มีสื่อการสอนอันใดที่ใช้ได้ดีที่สุดในทุกสถานการณ์” ในการตัดสินใจเลือกใช้สื่อการสอนต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมกัน ผู้ใช้สื่อไม่ควรยกเอาความสะดวก ความถนัด หรือความพอใจส่วนตัวเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกสื่อการสอนเพราะอาจเกิดผลเสียต่อกระบวนการเรียนการสอนได้ แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกสื่อการสอนก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีผู้ให้ความสนใจและให้คำแนะนำไว้หลากหลายมุมมอง ในที่นี้จะนำเสนอเฉพาะแนวคิดของโรมิสซอว์สกี้ และแนวคิดของเคมพ์และสเมลไล ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1.แนวคิดการเลือกสื่อการสอนของโรมิสซอว์สกี้
Romiszowski (1999) ได้เสนอแนวทางอย่างง่ายในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนไว้ว่า ในการเลือกสื่อการสอนนั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการเลือกสื่อที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณา ปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่
1.วิธีการสอน (Instructional Method) การเลือกวิธีการสอนเป็นปัจจัยแรกที่ควบคุมการเลือกสื่อ หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นสิ่งที่จำกัดทางเลือกของการใช้สื่อการสอนในการนำเสนอ เช่น ถ้าเลือกใช้วิธีการสอนแบบอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกันระหว่าง
2.งานการเรียนรู้ (Learning Task) สิ่งที่มีอิทธิพลต่อทางเลือกในการเลือกสื่อการสอนอีกประการหนึ่งคือ งานการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน เพราะสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่จำกัดหรือควบคุมการเลือกวิธีการสอน ตัวอย่างเช่น การฝึกอบรมผู้ตรวจการ หรือทักษะการบริหารงาน
3.ลักษณะของผู้เรียน (Learner Characteristics) ลักษณะพิเศษเฉพาะของผู้เรียนก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการเลือกสื่อการสอน ตัวอย่างเช่น การสอนผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้า โดยการใช้หนังสือหรือเอกสารเป็นสื่อการสอน จะเป็นสิ่งที่ยิ่งทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาในกระบวนการเรียนการสอน ผู้เรียนกลุ่มนี้ควรเรียนรู้จากสื่ออื่นๆ ที่ทำการรับรู้และเรียนรู้ได้ง่ายกว่านั้น
4.ข้อจำกัดในทางปฏิบัติ (Practical Constrain) ข้อจำกัดในทางปฏิบัติในที่นี้หมายถึง ข้อจำกัดทั้งทางด้านการจัดการ และทางด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทางเลือกในการเลือกใช้วิธีการสอนและสื่อการสอน เช่น สถานที่ใช้สื่อการสอน สิ่งอำนวยความสะดวก ขนาดพื้นที่ งบประมาณ เป็นต้น
5.ผู้สอนหรือครู (Teacher) สื่อการสอนแต่ละชนิดไม่ว่าจะมีข้อดีอย่างไร แต่อาจไม่ถูกนำไปใช้เพียงเพราะผู้สอนไม่มีทักษะในการใช้สื่อนั้นๆ นอกจากประเด็นในเรื่องทักษะของผู้สอนแล้ว ประเด็นในเรื่องทัศนคติของผู้สอนก็เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อการสอนเช่นกัน
2.แนวคิดการเลือกสื่อการสอนของเคมพ์และสเมลไล
Jerrold E. Kemp และ Don C. Smelle (1989) เสนอว่า นอกจากงานการเรียนรู้หรือสถานการณ์การเรียนรู้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่กำหนดถึงสื่อที่จะเลือกใช้แล้ว สิ่งสำคัญประการต่อมาในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนคือ คุณลักษณะของสื่อ ซึ่งผู้สอนควรศึกษาคุณลักษณะของสื่อแต่ละชนิดประกอบในการเลือกสื่อการสอนด้วย คุณลักษณะของสื่อ (Media Attributes) หมายถึง ศักยภาพของสื่อในการแสดงออกซึ่งลักษณะต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหว สี และเสียง เป็นต้น
คุณลักษณะของสื่อที่สำคัญ ได้แก่
1.การแสดงแทนด้วยภาพ (เช่น ภาพถ่าย ภาพกราฟิก)
2.ปัจจัยทางด้านขนาด (เช่น การใช้/ไม่ใช้เครื่องฉายเพื่อขยายขนาด)
3.ปัจจัยทางด้านสี (เช่น สีสันต่างๆ ขาว-ดำ)
4.ปัจจัยทางด้านการเคลื่อนไหว (เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว)
5.ปัจจัยทางด้านภาษา (เช่น ข้อความ/ตัวอักษร เสียงพูด)
6.ความสัมพันธ์ของภาพและเสียง (เช่น ภาพที่มี/ไม่มีเสียงประกอบ)
7.ปัจจัยทางด้านการจัดระเบียบข้อมูล (กำหนดให้ดูทีละภาพตามลำดับ หรือตามลำดับที่ผู้ชมเลือก)
หลักการสำคัญในการเลือกสื่อ
1. เลือกสื่อการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ผู้สอนควรศึกษาถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่หลักสูตรกำหนดไว้ วัตถุประสงค์ในที่นี้หมายถึงวัตถุประสงค์เฉพาะในแต่ละส่วนของเนื้อหาย่อย ไม่ใช่วัตถุประสงค์ในภาพรวมของหลักสูตร
2. เลือกสื่อการสอนที่ตรงกับลักษณะของเนื้อหาของบทเรียน เนื้อหาของบทเรียนอาจมีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น เป็นข้อความ เป็นแนวคิด เป็นภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว เป็นเสียง เป็นสี ซึ่งการเลือกสื่อการสอนควรเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา
3. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน ลักษณะเฉพาะตัวต่างๆ ของผู้เรียนเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้สื่อการสอน ในการเลือกสื่อการสอนต้องพิจารณาลักษณะต่างๆ ของผู้เรียน เช่น อายุ เพศ ความถนัด ความสนใจ ระดับสติปัญญา วัฒนธรรม และประสบการณ์เดิม ตัวอย่างเช่น การสอนผู้เรียนที่เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาควรใช้เป็นภาพการ์ตูนมีสีสันสดใส
4. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับจำนวนของผู้เรียน และกิจกรรมการเรียนการสอน ในการสอนแต่ละครั้งจำนวนของผู้เรียนและกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนสอน ในห้องก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาควบคู่กันในการใช้สื่อการสอน เช่น การสอนผู้เรียนจำนวนมาก จำเป็นต้องใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย ซึ่งสื่อการสอนที่นำมาใช้อาจเป็นเครื่องฉายต่าง ๆ และเครื่องเสียง เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นและได้ยินอย่างทั่วถึง ส่วนการสอนผู้เรียนเป็นรายบุคคล อาจเลือกใช้วิธีการสอนแบบค้นคว้า สื่อการสอนอาจเป็นหนังสือบทเรียนแบบโปรแกรม หรือบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
5. เลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมในที่นี้อาจได้แก่ อาคาร สถานที่ ขนาดพื้นที่ แสง ไฟฟ้า เสียงรบกวน อุปกรณ์อำนวยความสะดวก หรือ บรรยากาศ สิ่งเหล่านี้ควรนำมาประกอบการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอน ตัวอย่างเช่นการสอนผู้เรียนจำนวนมากซึ่งควรจะใช้เครื่องฉายและเครื่องเสียง
สื่อการสอนสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนดังต่อไปนี้
สื่อกับผู้เรียน
1.เป็นสิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้น และสามารถช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
2.สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน ทำให้เกิดความสนุกสนานและไม่รู้สึกเบื่อหน่ายการเรียน
3.การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกัน และเกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียนนั้น
สื่อกับผู้สอน
1.การใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบการเรียนการสอน เป็นการช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น ทำให้ผู้สอนมีความสนุกสนานในการสอนมากกว่าวิธีการที่เคยใช้การบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว
2.สื่อจะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหา เพราะบางครั้งอาจให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง
3.เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลิตวัสดุใหม่ๆ เพื่อใช้เป็นสื่อการสอน ตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามสื่อการสอนจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อผู้สอนได้นำไปใช้อย่างเหมาะสมและถูกวิธี ดังนั้น ก่อนที่จะนำสื่อแต่ละอย่างไปใช้ ผู้สอนจึงควรจะได้ศึกษาถึงลักษณะและคุณสมบัติของสื่อการสอน ข้อดีและข้อจำกัดอันเกี่ยวเนื่องกับตัวสื่อและการใช้สื่อแต่ละอย่าง ตลอดจนการผลิตและใช้สื่อให้เหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การจัดกิจกรรมการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์ที่วางไว้
1.บทบาทของผู้ออกแบบ
ผู้ออกแบบมีหน้าที่หลายอย่างที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์ในระหว่างขั้นตอนการตัดสินใจในระยะนี้ผู้ออกแบบมีหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจเลือกวิธีการสื่อเช่นเดียวกับตำรวจที่มองเห็นว่าคำแนะนำในการออกแบบการเรียนการสอนนำไปใช้ได้
หรือเป็นเหมือนผู้จัดการผู้ซึ่งริเริ่ม และประเมินผลผลิต
ในบทนี้จะเกี่ยวกับบทบาทของผู้ออกแบบที่มองเห็นการเลือกวิธีการสื่อที่มีประโยชน์เราจะเลือกสื่ออย่างไร
จะรับวัสดุอุปกรณ์ทางการค้าอย่างไร และจะริเริ่มและต้นระหว่างกระบวนการผลิตอย่างไร
ผู้ออกแบบต้องจำกัดบทบาทในการทำหน้าที่
ต้องสามารถปฏิบัติให้แล้วเสร็จและมีประสิทธิภาพ
ต้องรับรู้การกระทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตสื่อ ผู้ถ่ายภาพ หรือผู้วางโปรแกรมด้วย
และเป็นการท้าทายสำหรับผู้ออกแบบในการที่จะพยายามทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้
โดยลำพังตนเองแล้วไม่สามารถที่จะผลิตสื่อได้ทั้งหมดหรืออาจต้องการคำแนะนำเพิ่มจากผู้ร่วมงานในทีมมากกว่าที่จะทำคนเดียว
ความรับผิดชอบที่จำเป็นคือ
การตัดสินใจเลือกวิธีการสืบในขณะที่สมาชิกของทีมหรือผู้นำทีมเริ่มหรือแนะนำกระบวนการผลิต
ผู้ออกแบบจะทำในสิ่งนี้ได้ดีถ้ารู้จักทำหน้าที่ในลักษณะของผู้วิจัย ผู้เขียนสคริป
ผู้ถ่ายภาพ หรือผู้เรียบเรียง
สิ่งเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าไม่เคยผลิตหรือไม่เคยช่วยเรียบเรียงแต่หมายความว่า
รับรู้หน้าที่ในการให้คำแนะนำและจำกัดทักษะตัวอย่างเช่น มีการพัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่มมากขึ้น
และใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นกว่าทักษะด้านการถ่ายภาพ
2.ประเภทของสื่อ
ผู้ออกแบบสามารถที่จะเลือกชนิดของสื่อให้มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งและมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ที่คาดหวังจะเกิดขึ้นได้
ถ้าผู้ออกแบบรับรู้ชนิดของสื่อที่มีอยู่ รวมทั้งข้อดีและข้อเสียด้วย ดังนั้น
ผู้ออกแบบก็จะเป็นผู้ที่อยู่ในฐานะที่เป็นผู้ที่รู้จักเลือกชนิดของสื่อได้อย่างเหมาะสม
เราสามารถจำแนกสื่อได้ 4 ประเภท คือ สื่อทางหู (Audio) สื่อทางตา (Visual)สื่อทางหู และทางตารวมกัน(audio-visual) และสัมผัส (tactile) ผู้ออกแบบสามารถเลือกสื่อที่เหมาะสมที่สุดจากประเภทของสื่อต่างๆ
สำหรับภาระงานการเรียนการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจงสื่อต่างๆทั้ง 4
ประเภทในตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง มีดังต่อไปนี้
1. สื่อทางหู ได้แก่ เสียงของผู้ฝึก ห้องปฏิบัติการทางเสียง
การเตรียมเทปสำหรับผู้ฝึกเทป แผ่นเสียง วิทยุกระจายเสียง
2. สื่อทางตา ได้แก่ กระดานชอล์ก กระดานแม่เหล็ก กราฟ คอมพิวเตอร์
วัสดุต่างๆที่เป็นของจริง รูปภาพ แผนภูมิ กราฟถ่ายภาพ ผมสำรอง สิ่งที่ครูแจกให้
หนังสือ ฟิล์ม สไลด์ แผ่นใส
3. สื่อทางหูและทางตา ได้แก่ เทปวีดีโอ ทีวีวงจรปิด
โปรแกรมโสตทัศนวัสดุ สไลด์ เทปภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม ทีวีทั่วไป
เทคโนโลยีอื่นอื่นเช่น ดิจิตอล วีดิโอ อินเตอร์เน็ตแอคทิฟเทคโนโลยี (digital video interactive technology)
4. สื่อทางสัมผัส ได้แก่ วัตถุของจริง แบบจำลองในการทำงาน เช่น
ผู้แสดงสถานการณ์จำลอง
ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางประเภท
ในการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับพนักงานการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจงผู้ออกแบบจำเป็นต้องรู้ถึงความเป็นไปได้ในข้อดีและข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับสื่อแต่ละประเภท
จะแสดงให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของตัวอย่างสื่อจัดประเภทของสื่อสำคัญ 4 ประเภทและ
แสดงประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน
1. เทป
ข้อดี จูงใจใช้กับกลุ่มใหญ่ได้
ใช้ได้ทั้งที่บ้านที่ทำงานและในชั้นเรียนสามารถก๊อปปี้ได้ง่ายในการเก็บรักษา
ข้อเสีย ก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย
ไม่มีการให้ผลป้อนกลับในการเรียนการสอน
ใช้เวลาในการกรอเทปกลับสามารถถูกทำลายฉีกขาดเสียหายได้
หน่วยที่จะกรอเทปกับอาจจะไม่ว่าง
2. คำแนะนำของผู้ฝึก
ข้อดี เผชิญหน้ากัน ให้ผลป้อนกลับที่ดีกว่า
ข้อเสีย ไม่เห็นหน้ากัน ต้องการทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น
3. โทรทัศน์
ข้อดี ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง
เป็นระบบไปรษณีย์ที่สั้นๆ
ข้อเสีย สิ้นเปลืองเครื่องมือพังโทรทัศน์วัสดุ
4. ภาพพลิก (Flip Charts)
ข้อดี ราคาถูกเก็บ สารสนเทศได้ เคลื่อนย้ายได้
เปลี่ยนสารสนเทศได้ เช่น การพิมพ์นำเสนอบทเรียนได้ ไม่จำกัดว่าใช้กับคนคนเดียว
ข้อเสีย ครูจำเป็นต้องนำเสนอด้วยการเขียนที่สวยงาม
จำกัดขนาด สารสนเทศมากเกินไปกินเวลานานมาก ยากที่จะแสดงทรรศนะ
5. สิ่งที่ครูแจก
ข้อดี ราคาถูก เป็นการอ้างอิงที่ถาวร ช่วยในการทบทวน จดจำ
ช่วยนักเรียนที่ไม่ได้เข้าเรียนให้การอ้างอิงที่ค้นคว้าได้ในห้องสมุด
นำไปสู่พัฒนาการก้าวต่อไปของนักเรียน เป็นข้อแนะนำในการศึกษา
ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วม ใช้ได้กับนักเรียนทุกคน เช่น ภาษา
ระยะทางและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง สามารถสรุปให้เห็นภาพทั้งหมดได้ ราคาอาจแพง
ข้อเสีย กราฟิก 2 มิติ
นักเรียนอาจไม่ได้รับการบังคับให้อ่าน ก่อให้เกิดการเรียนรู้แบบเฉื่อยชา
สารสนเทศล้าสมัย
6.
กระดานคำพื้นฐานและกระดานขาวตายตัว
ข้อดี ให้เห็นสารสนเทศที่ลอกได้ เห็นได้ ราคาถูก
ให้สีหลักรายได้ ยอมให้กลุ่มมีส่วนร่วมได้ขั้นตอนมีเหตุมีผล สามารถเปลี่ยนแปลงได้
จำกัดขนาดของปากกา
ข้อเสีย ทำให้เลอะเทอะ ใช้เวลามากในการเขียน
บางคนเขียนไม่สวย สองมิติ สารสนเทศไม่สัมพันธ์กัน
สารสนเทศขาดตอนได้โดยไม่ได้ตั้งใจ
7.
กระดานขาวและกระดานดำที่ตายตัว
ข้อดี ให้ข้อมูลที่กว้างขวาง
ยอมให้เก็บข้อมูลเชิงตรรกะได้ ยอมให้มีการเก็บสารสนเทศที่มีเหตุผล
ยอมให้เขียนสารสนเทศไว้ก่อนได้ ซ่อนและโยงความสัมพันธ์ของสารสนเทศได้
ผู้สอน/นักเรียนช่วยกันให้ความคิดสารสนเทศได้
ข้อเสีย ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้
8.
กระดานคำที่ใช้แม่เหล็ก Megnetic or Felt Board
ข้อดี เครื่องย้ายแบบจำลองได้ สร้างสารสนเทศใหม่ได้
ข้อเสีย ไม่ใช่ของจริง กำจัดกลุ่มผู้มีส่วนร่วม
9.
การผสมผสานระหว่างกระดานตายตัวต่างๆ (Fexed Board to the above)
ข้อดี เครื่องย้ายแบบจำลองได้ สร้างสารสนเทศใหม่ได้
ต้องการผู้สอนที่มีทักษะ จัดการจัดห้องเรียน
ข้อเสีย นักเรียนสามารถมองได้เพียงด้านเดียว
10. การสาธิต (Demonstration)
ข้อดี ประหยัดเวลาและการพูด
ง่ายในการเฝ้าดูมากกว่าการฟัง เห็นของจริง
ข้อเสีย มาตรฐานการสาธิต ต้องการผู้สอนที่มีทักษะ นักเรียนไม่มีส่วนร่วม
นักเรียนอาจไม่รู้ว่าต้องสังเกตอะไร นักเรียนอาจมีความเข้าใจช้าหรือไม่เข้าใจเลย
โสตทัศนะ
1. ฟิล์ม/วีดิโอ (Film/Video)
ข้อดี สามารถแสดงพัฒนาการของวิธีการหรือการปฏิบัติ
ผสมผสานทัศนะคำพูดและเสียงอื่นเข้าด้วยกัน เปลี่ยนเวลาได้ สนุกสนาน จูงใจ
ข้อเสีย นักเรียนไม่มีส่วนร่วม แพง
โดยทั่วไปสร้างจากจุดประสงค์ของคนอื่น
3.การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ
สื่อเป็นวิธีการซึ่งมีการนำเสนอสาระสนเทศและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในขณะที่สื่อเป็นคำที่ใช้อ้างถึงแบบของการเรียนการสอน(mode of delivery)จึงเป็นความจำเป็นที่ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ที่จะส่งผ่านแบบการเรียนการสอนนั้นในทางตัดตัดแล้วเป็นความจำเป็นทั้งส่วนที่เป็นอุปกรณ์(hardware)และส่วนที่เป็นวัสดุ (software) สำหรับการเรียนรู้ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นฐานเช่นเดียวกันกับสื่อโทรทัศน์ที่ต้องอาศัยโปรแกรมพื้นฐานการตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อสามารถทำได้ก่อน ทำตามหลัง หรือทำไปพร้อมๆกับการตกลงใจเกี่ยวกับวิธีการโดยทั่วๆไปแล้ว จะทำตามหลังหรือทำไปพร้อมๆกันการบรรยายอาจจะต้องการองค์ประกอบของสื่อหรืออาจจะอยู่ในรูปแบบของโปรแกรมโทรทัศน์ ในสมัยก่อนวัสดุอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะเป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์
การตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่
เทคโนโลยีใหม่ประกอบด้วยการเรียนการสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน (computer-based instruction) และการเรียนรู้ทางไกลที่อาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นพื้นฐาน (telecommunication-based learning technologies) การเรียนรู้ทางไกลเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนอยู่ในสถานที่หนึ่งเทคโนโลยีใหม่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ
การพิจารณาเลือกสื่อ
มีหลักการทั่วไปจำนวนมาก และข้อพิจารณาอื่นๆในการเลือกสื่อที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอน คือ กฎในการเลือกสื่อและปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อ
กฎในการเลือกสื่อ
กฎที่ 1 การเรียนการสอนโดยทั่วไปแล้วต้องการสื่อสองทาง(two way medium)นักเรียนจะเรียนได้ดีที่สุดเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ/สื่อการเรียนการสอน ครู สมุดทำงาน หรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
กฎที่ 2 สื่อทางเดียว(one-way medium) ควรจะได้รับการสนับสนุน โดยสื่อที่ให้ข้อมูลป้อนกลับ ตัวอย่างคือ ภาพยนตร์ หรือวีดีทัศน์ จะให้ประสิทธิผลมากกว่าเมื่อมีคู่มือการใช้ควบคู่ไปด้วยหรือมีแบบฝึกประติบัตรควบคู่ไปด้วย หรือมีครูซึ่งสามารถที่จะถามคำถามและตอบคำถามได้
กฎที่ 3 การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ต้องการสื่อที่มีความยืดหยุ่น ตัวอย่างคือผู้เรียนที่เช้า อาจจะต้องการสื่อเรียนที่แตกแขนงออกไปเป็นพิเศษ เช่นการฝึกเสริม(remedial exercises) ตัวอย่างเสริมเป็นพิเศษ สื่อภาพยนตร์ ควรจะส่งเสริมโดยการเยียวยาแก้ไขหรือมีกิจกรรมที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะสนองตอบได้อย่างดีเลิศในความยืดหยุ่นที่มีต่อปัจจัยบุคคล
กฎที่4 การนำเสนอโลกแห่งความเป็นจริง ต้องการสื่อทางทัศนะวัสดุ ตัวอย่างนักเรียนพยาบาลเรียนรู้วิธีการตัดไหมจำเป็นต้องการเห็นการสาธิต (ภาพยนตร์ วิดิทัศน์ การสาธิตของจริง) มากกว่าที่จะเขียนออกมาเป็นรายการของวิธีการตัดไหม
กฎที่ 5 พฤติกรรมที่คาดหวังหลังจากการเรียนการสอน ควรจะให้มีการฝึกปฏิบัติในระหว่างที่มีการเรียนการสอน การได้ยินหรือการได้เห็นทักษะที่แสดงออกมาไม่เป็นการเพียงพอ ตัวอย่างผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องการทำการตัดไหมตามที่เห็นในวิดิทัศน์ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้เทียมเทียมหรือตัดใหม่จริงๆ
กฎที่ 6 เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ของบทเรียนอื่นๆ อาจต้องการการเลือกสื่อที่มีความแตกต่างกัน ตัวอย่างทฤษฎีที่อยู่บนหลักการของวิธีการทำหมันอาจจะต้องการวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นสิ่งพิมพ์ในขณะที่มีวิธีการตัดไหมอาจจะต้องการสาธิตที่มีความเป็นจริงมากกว่า(วิดีทัศน์ ภาพยนตร์ ฯลฯ )
ปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อการเลือกสื่อ
ได้มีการเรียนรู้กฎซึ่งจำเป็นในการพิจารณาเมื่อมีการเลือกสื่อการเรียนการสอนเป็นความจำที่มองหาปัจจัยอื่นๆซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกสื่อ
แบบจำลองการเลือกสื่อ
แบบจำลองการเลือกสื่อการเรียนการสอนมีหลายแบบ
สำหรับการพิจารณาแต่ละแบบจะมีวิธีการเลือกสื่อที่แตกต่างกัน สิ่งที่น่าสังเกตคือ
แต่ละแบบมีความต่างกันอย่างไร และพิจารณาว่ามีอะไรเป็นนัยของความแตกต่าง
แต่ละแบบจำลองพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการเลือกและการใช้ประโยชน์จากวัสดุ
แบบจำลองของวิลเลี่ยม
ออเลน
ในแบบจำลองของวิลเลี่ยม ออเลน (William allen) ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการจำแนกจุดประสงค์ในการจำแนกความสามารถสูงสุดของสื่อการเรียนการสอนที่จะพลิกแพลงให้เข้ากับจุดประสงค์
ออเลน ได้ตรวจสอบประสิทธิผลสื่อสำหรับวัดชนิดของการเรียนรู้ด้วยเหตุนี้ ออเลน
ได้สร้างตารางแจกแจงสองทาง ซึ่งจำแนกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง
ต่ำ ตามชนิดของการเรียนรู้
เมื่อใช้แบบจำลองนี้ผู้ออกแบบความพยายามหลีกเลี่ยงสืบให้ผลสัมฤทธิ์ต่ำกับชนิดของการเรียนรู้(allen,1967 : 27-31) อย่างไรก็ตามถ้าผู้ออกแบบเลือกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ำหรือปานกลาง
ผู้ใช้ควรรับรู้ข้อจำกัด
วิธีการที่แสดงด้วยภาพ
สามารถที่จะช่วยให้เห็นกระบวนการของการตรวจสอบจุดประสงค์
และตัดสินใจว่าสื่อชนิดใดมีความเหมาะสม
แบบจำลองของเยอร์ลาชและอีลี
แบบจำลองของเยอร์ลาชและอีลี (Gerlanch and Ely) ได้เป็นที่รู้จักกันในปีค.
ศ. 1971 ในตำราที่ชื่อว่าการสอนและสื่อ เยอร์ลาชและอีลี
ได้นำเสนอเกณฑ์ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการเลือกสื่อการเรียนการสอน
หลังจากที่ระบุจุดประสงค์และระบุพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอน(behaviors) แล้วเกมดังกล่าวประกอบด้วย ประการที่ 1 ความเหมาะสมทางปัญญา
(สื่อสามารถส่งผ่านตัวกระตุ้นตามเจตนารมณ์ของวัตถุประสงค์หรือไม่)
ประการที่สองระดับความเข้าใจ (สื่อทำให้ผู้เรียนเข้าใจหรือไม ประการที่ 3 ราคา
ประการที่ 4 ประโยชน์ (เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุมีประโยชน์หรือไม่) และประการที่
5 คุณภาพทางเทคนิค (คุณลักษณะทางการฟังและการดูของการผลิตมีคุณภาพเพียงพอหรือไม่)
(Gerlach and Ely,1980)
สรุป
สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
สื่อการเรียนการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ
ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน
และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังช่วยประหยัดเวลาในการสอน
นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้น
ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ต่อการเรียนการสอนนั้น
ผู้สอนจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในการเลือกสื่อได้แก่ จุดมุ่งหมายของการสอน
รูปแบบและระบบของการเรียนการสอน ลักษณะของผู้เรียน เกณฑ์เฉพาะของสื่อ
วัสดุอุปกรณ์ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่
นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสื่อกับคุณสมบัติเฉพาะและจุดประสงค์ของการเรียนการสอน
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.
พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น