Week 13


บทที่ 7
การวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้


1.ความหมายของการวางแผนการสอน

            การวางแผนการสอน คือ  การเตรียมการในการจัดการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์การคัดเลือกเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การประเมินผล อย่างมีระบบระเบียบ และเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานกำหนด เพื่อเป็นแนวทางในการสอนของครูอันจะช่วยให้การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
           นิคม ชมภูหลง (2545 : 180) ให้ความหมายของแผนการสอนว่า แผนการสอน หมายถึง แผนการหรือโครงการที่จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ในการปฏิบัติการสอนในรายวิชาใดวิชาหนึ่ง เป็นการเตรียมการสอนอย่างมีระบบและเป็นเครื่องมือช่วยให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปสู่จุดประสงค์และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           ภพ เลาหไพฑูรย์ (2540 : 357) ให้ความหมายของแผนการสอนว่าแผนการสอน หมายถึงลำดับขั้นตอนและกิจกรรมทั้งหมดของผู้สอนและผู้เรียน ที่ผู้สอนกำหนดไว้เป็นแนวทางในการจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์
           กรมวิชาการ (2545 : 73) ได้ให้ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ คือผลของการเตรียมการวางแผนการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบโดยนำสาระและมาตรฐานการเรียนรู้
คำอธิบายรายวิชา และกระบวนการเรียนรู้ โดยเขียนเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพ
ของผู้เรียน
                      สรุปว่า แผนการสอนคือ การวางแผนการจัดกิจกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ล่วงหน้าอย่างละเอียด เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งมีเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอน และวิธีวัดผลประเมินผลที่ชัดเจน

2.ความจำเป็นของการวางแผนการสอน

               การวางแผนการสอนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสอนที่ดี เพราะการวางแผนการสอนเป็นการเลือกและตัดสินใจเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีดการจัดเตรียมเนื้อหาโดยนำเนื้อหามาบูรณาการกัน ทำให้ง่ายต่อการศึกษาทำความเข้าใจ  นอกจากนี้การวางแผนการสอนล่วงหน้านี้ยังมีความจำเป็นในแง่ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจถึงจุดประสงค์ในการเรียนได้เป็นอย่างดี ผู้สอนมีโอกาสได้ทราบเจตคติและความรู้พื้นฐานของผู้เรียน ทำให้สามารถเลือกวิธีสอน และการประเมินผลได้ถูกต้องและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้สอนไม่สามารถเข้าสอนได้ผู้สอนท่านอื่นก็สามารถเข้าสอนแทนได้

3.ข้อมูลที่ถูกต้องใช้ในการวางแผนการสอน

        1.สภาพปัญหาและทรัพยากร เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเรียนการสอนที่ผู้สอนรวบรวมได้จากการสำรวจปัญหาและตรวจสอบทรัพยากรในแง่กำลังคน งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ข้อมูลส่วนนี้จะทำให้ผู้วางแผนกำหนดรูปแบบการสอน กิจกรรมการเรียน และสื่อการสอนได้ชัดเจน
        2.การวิเคราะห์เนื้อหา เป็นข้อมูลที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะกำหนดหัวเรื่องที่จะสอนโดยกำหนดเป็นระบบหน่วยใหญ่ที่อาจจะต้องสอนหลายครั้ง ระดับหน่วยย่อยและระดับบทเรียน สำหรับเนื้อหารของบทเรียนก็ต้องวิเคราะห์ออกเป็นหัวเรื่อง  
        3.การวิเคราะห์ผู้เรียน เป็นข้อมลที่เกี่ยวกับอายุ ระดับความพร้อมและความรู้เดิมของผู้เรียน ข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้เรียนมีความจำเป็นสำหรับการจัดการรียนการสอนที่สอดคล้องกับผู้เรียนในระดับต่างๆ
        4.ความคิดรวบยอด เป็นข้อมูลที่เกี่ยวสาระที่ต้องการมลให้ผู้เรียนได้รับ ผู้สอนต้องการกำหนดให้เด่นชัดก่อนว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับความคิดรวบยอดที่เป็นแก่นสาระของเนื้อหาอะไรบ้าง
        5.วัตถุประสงค์ เป็นเป้าหมายแห่งความสำเร็จในส่วนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในตัวผู้เรียนที่ผู้สอนกำหนดไว้ การกำหนดวัตถุประสงค์ต้องมีทั้งทั่วไปและเฉพาะ
        6.กิจกรรมการเรียน เป็นข้อมูลที่ผู้สอนคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมการเรียนอะไรบ้าง โดยคำนึงถึงกิจกรรมกุล่มใหญ่ กลุ่มย่อย รายบุคคล
        7.สื่อการสอน  เป็นข้อมูลที่ผู้สอนคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมการเรียนอะไรบ้างเช่นกัน
        8.การประเมินผล   เป็นข้อมูลที่ผู้สอนคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะตรวจสอบอย่างไร ทั้งส่วนที่เป็นพฤติกรรมเดิม พฤติกรรมต่อเนื่อง และพฤติกรรมขั้นสุดท้าย

4.แนวทางการวางแผนการสอน

          1.การวางแผนระยะยาว (Long range Planning) เป็นการวางแผนในระดับกลยุทธ์โดยมีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยงการบริหารและการปฏิบัติการภายในองค์กรเข้ากับสภาวะแวดล้อมปกติ การวางแผนระยะยาย จะคำนึงถึงอนาคตข้างหน้าไม่ต่ำกว่า 5 ปีขึ้นไป แม้ว่าการวางแผนระยะยายจะตั้งอยู่บนความไม่แน่นอนของสถานการณ์แวดล้อม แต่หลายๆ องค์กรก็สามารถช้ากรวางแผนระยะยาวให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรได้ เช่น ใช้การวางแผนระยะยาวในการพัฒนาทักษะและฝีมือของแรงงาน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้แรงงานในอนาคตผู้บริหารบริษัทซีรอกซ์ใช้การวางแผนระยะยาวสำหรับการสร้างสรรค์สายผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่จะสนับสนุนเป้าหมายกลยุทธ์ขององค์กร ในการสร้างความเป็นหนึ่งของโลกในธุรกิจกระบวนการเอกสาร และวางแผนใช้เวลาถึง 10 ปีในการพัฒนาด้านการตลาดของเทคโนโลยีด้านเอกสารและใสการสร้างสรรค์เครื่องจักรคอมพิวเตอร์ดิจิตอลแบบตั้งโต๊ะ เพื่อใช้งานด้านเอกสารสำเนามี่มีความเร็วสูงและมีคุณภาพสูง
        2.การวางแผนระยะสั้น (short range Planning)  เป็นการวางแผนเพื่อให้ครอบคลุมและเป็นไปตามเป้าหมายปฏิบัติการหรือแผนปฏิบัติการที่วางไว้โดยปกติ แผนระยะสั้นจะต้องสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแผนระยะยาว   ระยะเวลาสำหรับการวางแผนระยะสั้นมักเป็นช่วงเวลาของการดำเนินงานในปัจจุบัน ซึ่งถือเอาช่วงเวลาภายในเวลา 1 ปีเป็นเกณฑ์ แผนระยะสั้นจะช่วยให้การบริหารการปฏิบัติงานประจำวันเป็นไปด้วยความราบรื่นเรียบร้อย
    ความหมายของกำหนดการสอน
       1.กำหนดการสอนรายปี
       2.กำหนดการสอนรายภาค
       3.กำหนดการสอนรายสัปดาห์
                กำหนดการสอนต้องคำนึงถึงกำหนดวันปิดและเปิดภาคเรียน วันหยุดวันสำคัญต่างๆ กำหนดวันสอบย่อย สอบปลายเทอม  กำหนดเวลาการสอน
     หลักการทำกำหนดการสอน

ตัวอย่างการกำหนดการสอน

ประโยชน์ของการกำหนดการสอน
    การทำการสอนมีประโยชน์ ดังนี้
      1. ใช้เป็นแนวทางในการทำแผนการสอนเพื่อใช้สอนได้สะดวก ผู้สอนสามารถเข้าใจและมองเห็นงานของตนได้ล่วงหน้าชัดเจน สามารถพิจารณาปรับปรุงให้เหมาะสมอยู่เสมอในการคิดวางแผนล่วงหน้า ทำให้การสอนของผู้สอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปอย่างได้ผล
      2. ช่วยให้การสอนเป็นไปตามหลักสูตร เหมาะสมกับผู้เรียนและสอดคล้องกับภาพแวดล้อมและชุมชนเสมอ
      3. ทำให้การเปลี่ยนแปลงผู้สอนใหม่ การรับงานของผู้สอนใหม่ การประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ช่วยสอนกับผู้สอน การจัดการผู้สอนแทน ฯลฯ เป็นไปด้วยดีไม่มีกระทบกระเทือนต่อผู้เรียนเกินไป
      4. ช่วยให้ผู้บริหาร ผู้นิเทศ รู้ลู่ทางที่จะแนะนำ ตลอดจนให้ความร่วมมือสนับสนุนด้วยประการต่างๆ
      5. ทำให้ประสิทธิผลสะดวก เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย หรือจุดประสงค์ที่กำหนดไว้

5.แผนการจัดการเรียนรู้

ความหมายของแผนการสอน
        แผนการสอนหรือในปัจจุบันใช้คำว่าแผนการจัดการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ซึ่งหมายถึง แนวทางในการสอนที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทำขึ้นให้ผู้สอนได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดหมายของการศึกษา ครูหรือผู้สอนอาจต้องปรับปรุงแผนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่นได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอนและการประเมินผล ทั้งนี้โดยความคิดรวบยอด จุดประสงค์การเรียนรู้หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นหลัก ดังนั้นในการทำแผนการสอน หรือในการปรับปรุงการสอนเพื่อให้เกิดการสอนที่ดี ผู้สอนจะต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี ในหลายๆด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านเทคนิควิธีการ ตลอดจนการนำสื่อมาใช้ เป็นต้น

ข้อควรคำนึงในการทำแผนการสอน
        การทำแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีนั้น ผู้สอนจะต้องเตรียมการล่วงหน้าโดยต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
      1. การศึกษาหลักสูตร คู่มือครู หรือเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ผู้สอนจะต้องศึกษาจุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ตลอดจนศึกษารายละเอียดของเนื้อหาที่หลักสูตรกำหนดก่อนที่จะลงมือทำแผนการสอน
      2. ความมุ่งหมายของสาระที่สอน ต้องให้ครอบคลุมความมุ่งหมายของการศึกษาทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านเจตคติและด้านทักษะ ผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจกับความมุ่งหมายเหล่านี้ให้ชัดเจน สามารถกำหนดผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อมีการเรียนการสอนเกิดขึ้น

องค์ประกอบของแผนการสอน
    1.กลุ่มสาระวิชาและเรื่องที่จะสอน
    2.หัวเรื่อง
    3.ความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญ
    4.จุดประสงค์การเรียนรู้
    5.เนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้
    6.กิจกรรมการเรียนการสอน
    7.สื่อการเรียนการสอน
    8.ประเมินผล
    9.หมายเหตุ

รูปแบบของแผนการสอน
    1.รูปแบบของแผนการสอนตามลักษณะการเขียน แบ่งได้ 2 รูปแบบ คือ
        1.1 แบบเรียงหัวข้อ รูปแบบนี้จะเรียงตามลำดับก่อนหลังโดยไม่ต้องตีตารางรูปแบบนี้ให้ความสะดวกในการเขียน เพราะไม่ต้องตีตาราง แต่มีส่วนเสียคือยากต่อการดูให้สัมพันธ์กันในแต่ละหัวข้อ ดังต่อไปนี้
           1.1.1 ชื่อวิชาและระดับชั้น
           1.1.2 ชื่อหน่วย เรื่องที่จะสอน และเวลาที่สอน
           1.1.3 ชื่อหัวข้อเรื่อง
           1.1.4 ความคิดรวบยอด
           1.1.5 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
           1.1.6 กิจกรรมการเรียนการสอน
           1.1.7 สื่อการเรียนการสอน
           1.1.8 การประเมินผล
           1.1.9 หมายเหตุ

         
        1.2 แบบกึ่งหัวข้อกึ่งตาราง แผนการสอนรูปแบบนี้นิยมเรียกสั้นๆว่า แผนการสอนแบบกึ่งตาราง เป็นแผนการสอนที่เสนอข้อความตามหัวข้อส่วนหนึ่ง และเขียนรายละเอียดลงในตารางอีกส่วนหนึ่ง การเขียนแผนการสอนแบบกึ่งตาราง   มีข้อดีที่กำหนดขั้นตอนตามเนื้อหาสาระกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลอย่างละเอียด มีดังนี้
           1.1.1 ชื่อวิชาและระดับชั้น
           1.1.2 ชื่อหน่วย เรื่องที่จะสอน และเวลาที่สอน
           1.1.3 ชื่อหัวข้อเรื่อง
           1.1.4 ความคิดรวบยอด
           1.1.5 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
           1.1.6 กิจกรรมการเรียนการสอน
           1.1.7 สื่อการเรียนการสอน
           1.1.8 การประเมินผล
           1.1.9 หมายเหตุ



        1.3 แบบกรมวิชาการ นำเสนอไว้เป็นตัวอย่างในการเขียนแผนการสอน ซึ่งสถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถนำไปดำเนินการปรับใช้ตามความเหมาะสม


    
    2.รูปแบบการสอนตามลักษณะการใช้
        2.1 ระดับอนุบาลและช่วงชั้นที่ 1-2 ชั้นประถมศึกษานิยมใช้แผนการสอนแบบกึ่งตาราง
        2.2 ระดับช่วงชั้นที่ 3-4 ชั้นมัธยมศึกษา ม. 1-3 นิยมใช้แผนการสอนแบบกึ่งตาราง ม. 4-6 นิยมใช้แผนการสอนแบบเรียงหัวข้อ
        2.3 ระดับอุดมศึกษา นิยมใช้แผนการสอนแบบเรียงหัวข้อ

ขั้นตอนในการเขียนแผนการสอน
        1.ศึกษาแผนการสอนแม่บท และปรับแผนการสอนโดยแบ่งหัวข้อของเนื้อหา
        2.ศึกษาความคิดรวบยอดทั้งหมดของแม่บทนั้น
        3.ศึกษาจุดประสงค์มาตรฐานการเรียนรู้ทั้งหลายสาระนั้น
        4.ศึกษาเนื้อหาและรายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง
        5.ศึกษากิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมด
        6.ศึกษาการวัดและประเมินผลแต่ครั้งที่สอน

การเขียนแผนการสอน          
        1.ชื่อกลุ่มสาระช่วงชั้นและระดับชั้น ควรเขียนให้ละเอียด
        2.ชื่อหน่วย หัวเรื่อง เวลาและวันที่ แล้วดูในแผนการจัดการเรียนรู้กระทรวงศึกษาธิการ
        3.มโนทัศน์หรือความคิดรวบยอด หรือใช้คำว่า สาระสำคัญ 
        4.คุณสมบัติที่ต้องการเน้น ผู้สอนควรพิจารณากิจกรรมการเรียนการสอน
        5.จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม มี 2 ประเภท คือ จุดประสงค์ทั่วไป และ จุดประสงค์นำทาง
        6.เนื้อหา ปัจจุบันใช้สาระการเรียนรู้ของบทเรียนในระดับชั้นต่างๆ
        7.กิจกรรมการเรียนการสอน ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
        8.สื่อการเรียนการสอน เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
        9.การประเมิน เป็นผลต่อเนื่องมาจากการวัดผล
       10.หมายเหตุ สำหรับบันทึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อสังเกตต่างๆ

ประโยชน์ของการเขียนแผนการสอน
       1. ครูรู้วัตถุประสงค์ของการสอน
       2. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยความมั่นใจ
       3. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
       4. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ
       5. ถ้าครูประจำชั้นไม่ได้สอน ครูที่มาทำการสอนแทนสามารถสอนแทนได้ตาม

6.การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้



การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เป็นการวางแผนกิจกรรมให้ผู้เรียนไว้ล่วงหน้า เสมือนแผนที่ในการเดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายตามที่กำหนด ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ผู้สอนจะต้องวางแผนการจัดกิจกรรมจะต้องมีความเข้าใจถึงหลักสูตร ธรรมชาติของรายวิชา ทักษะเฉพาะรายวิชาที่ผู้สอนจะต้องสอดแทรกเพิ่มเติมนอกเหนือจาก สาระการเรียนรู้ ดังนั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จึงเป็นกิจกรรมที่จะทำให้ได้เข้าใจเนื้อหาสาระมากขึ้น   ผู้สอนจะต้องมีความเข้าใจในในการจัดหน่วยการเรียนรู้ จากนั้นจึงนำหน่วยการเรียนรู้มาวิเคราะห์เป็นแผนจัดการเรียนรู้ย่อย ได้ตามขั้นตอนดังนี้




         จากขั้นตอนดังกล่าวจะเห็นขั้นตอนการได้มาซึ่งแผนการจัดการเรียนรู้ว่าจะต้องจัดทำหน่วยการเรียนรู้ให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นจึงทำวางแผนการวิเคราะห์การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้ ซึ่งขั้นตอนในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้มีดังนี้



           แนวทางการนำเสนอของกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอแนะให้มีการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมในการที่สถานศึกษาจะเลือกใช้กับบริบทของสถานศึกษาดังตัวอย่างการเขียนแผนแบบย้อนกลับดังนี้



  
       1.ความเข้าใจที่คงทน  หมายถึง ความรู้ความเข้าใจที่ต้องการให้นักเรียนจำฝังใจ หรือมีความเข้าใจในเรื่องที่สอนไปอย่างยาวนาน
       2.มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หมายถึง มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ได้ทำการวิเคราะห์มาจากโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้
       3.สาระสำคัญ หมายถึง ความคิดรวบยอดของเนื้อหาสาระที่จะทำการจัดการเรียนรู้ในเรื่องหนึ่งๆ โดยสรุปได้สอดคล้องกับชื่อเรื่องและตัวชี้วัด
       4.วัตถุประสงค์ หมายถึง เป้าหมายนำทางที่ตั้งไว้ในการที่จะพัฒนาผู้เรียนให้ไปถึงคุณภาพมาตรฐานและตัวชี้วัดในเรื่องนั้นๆ
       5.สาระการเรียนรู้ หมายถึง สาระเนื้อหาวิชาที่จะทำการสอนที่ได้จากการวิเคราะห์มาตรฐานตัวชี้วัด ที่จะแตกออกเป็นความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ
       6.สมรรถนะที่สำคัญ หมายถึง สมรรถนะที่กระทรวงการศึกษาธิการได้กำหนดไว้
       7.คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง คุณลักษณะ ๘ ประการที่กระทรวงศึกษากำหนดให้ครูจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับเรื่องที่จัดการเรียนรู้
       8.ชิ้นงาน/ภาระงาน หมายถึง ชิ้นงาน/ภาระงานที่มอบให้กับผู้เรียนที่ได้จากการวิเคราะห์ตัวชี้วัด
       9.กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนตามเนื้อหาสาระ และกระบวนการพัฒนาผู้เรียน โดยเลือกกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามความเหมาะสม
       10.สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ หมายถึง สื่ออุปกรณ์ วัสดุ แหล่งการเรียนรู้ เป็นสื่อกลางที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เข้าใจมากขึ้น นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ ได้เรียนรู้จริง เห็นจริง
       11.บันทึกหลังสอน หมายถึง การบันทึกข้อมูลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเขียนสภาพการบรรยายสภาพที่เกิดขึ้นของผู้เรียนตามขั้นตอนการจัดกิจกรรมว่ามีปัญหาอย่างไรบ้าง แก้ไขอย่างไร และปรับกิจกรรมการสอนอย่างไร

ตารางที่ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง



     

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ใน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน ๖๗ มาตรฐาน ดังนี้

ภาษาไทย
   สาระที่ ๑ การอ่าน
มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน
   สาระที่ ๒ การเขียน
มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
   สาระที่ ๓ การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิดความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณ และสร้างสรรค์
   สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษาไทย
มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษา ภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
   สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม
มาตรฐาน ท ๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดี และวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

คณิตศาสตร์
   สาระที่ ๑ จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค ๑.๑ เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค ๑.๒ เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค ๑.๓ ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค ๑.๔ เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
   สาระที่ ๒ การวัด
มาตรฐาน ค ๒.๑ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
มาตรฐาน ค ๒.๒ แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
   สาระที่ ๓ เรขาคณิต
มาตรฐาน ค ๓.๑ อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
มาตรฐาน ค ๓.๒ ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา
   สาระที่ ๔ พีชคณิต
มาตรฐาน ค ๔.๑ เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน
มาตรฐาน ค ๔.๒ ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์(mathematical model) อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหา
   สาระที่ ๕ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค ๕.๑ เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
มาตรฐาน ค ๕.๒ ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค ๕.๓ ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
   สาระที่ ๖ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค ๖.๑ มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

วิทยาศาสตร์
    สาระที่ ๑ สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว ๑.๑ เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว ๑.๒ เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
    สาระที่ ๒ ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว ๒.๑ เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ
หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

มาตรฐาน ว ๒.๒ เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
    สาระที่ ๓ สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว ๓.๑ เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว ๓.๒ เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
    สาระที่ ๔ แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
มาตรฐาน ว ๔.๒ เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
   สาระที่ ๕  พลังงาน
มาตรฐาน ว ๕.๑ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
   สาระที่ ๖ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว ๖.๑ เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
   สาระที่ ๗ ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว ๗.๑ เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว ๗.๒ เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
    สาระที่ ๘ ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว ๘.๑ ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
   สาระที่ ๑ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
มาตรฐาน ส ๑.๑ รู้ และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
มาตรฐาน ส ๑.๒ เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ
   สาระที่ ๒ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
มาตรฐาน ส ๒.๑ เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และสังคมโลกอย่างสันติสุข
มาตรฐาน ส ๒.๒ เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
   สาระที่ ๓ เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส ๓.๑ เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
มาตรฐาน ส ๓.๒ เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
   สาระที่ ๔ ประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส ๔.๑ เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ
มาตรฐาน ส ๔.๒ เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และ
การเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น
มาตรฐาน ส ๔.๓ เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรักความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย
สาระที่ ๕ ภูมิศาสตร์
มาตรฐาน ส ๕.๑ เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผล ต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ส ๕.๒ เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

สุขศึกษาและพลศึกษา
   สาระที่ ๑ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
มาตรฐาน พ ๑.๑ เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
   สาระที่ ๒ ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน พ ๒.๑ เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต
   สาระที่ ๓ การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล
มาตรฐาน พ ๓.๑ เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกม และกีฬา
มาตรฐาน พ ๓.๒ รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา ปฏิบัติเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน และชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา
   สาระที่ ๔ การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มาตรฐาน พ ๔.๑ เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรคและการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
    สาระที่ ๕ ความปลอดภัยในชีวิต
มาตรฐาน พ ๕.๑ ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยาสารเสพติด และความรุนแรง

ศิลปะ
   สาระที่ ๑ ทัศนศิลป์
มาตรฐาน ศ ๑.๑ สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะ อย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐาน ศ ๑.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่า งานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
   สาระที่ ๒ ดนตรี
มาตรฐาน ศ ๒.๑ เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐาน ศ ๒.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
   สาระที่ ๓ นาฏศิลป์
มาตรฐาน ศ ๓.๑ เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐาน ศ ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

ภาษาต่างประเทศ
   สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต ๑.๑ เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
มาตรฐาน ต ๑.๒ มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก
และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ต ๑.๓ นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆโดยการพูดและการเขียน
   สาระที่ ๒ ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต ๒.๑ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้
ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
มาตรฐาน ต ๒.๒ เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของ
ภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

   สาระที่ ๓ ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มาตรฐาน ต ๓.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็น
พื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน
   สาระที่ ๔ ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต ๔.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม
มาตรฐาน ต ๔.๒ ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ
และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก

7. การวัดและการประเมินผล

     การวัดและการประเมินผลเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับผู้สอนด้วยเหตุผลที่ว่าการวัดและการประเมินผลจะเป็นวิธีการที่ประเมินความรู้ความสามารถของผู้เรียนตลอดจนใช้เป็นวิธีการในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้สอนได้ว่าได้ดำเนินการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่
เครื่องมือและเทคนิควิธีที่ใช้ในการวัดและการประเมินผล
     1. การสังเกต เป็นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของผู้สังเกตสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในสภาพการณ์ที่เป็นจริงทั้งในและนอกห้องเรียนการสังเกตโดยทั่วไปเป็นการเฝ้าดูพฤติกรรมต่างๆของผู้ถูกสังเกตซึ่งอาจจะเศร้าดูไปตามเรื่องไม่ได้กำหนดหรือวางแผนว่าจะสังเกตุอะไร
     2. การสัมภาษณ์ เป็นการพูดคุยซักถามกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนมีการซักถามตู้ตอบซึ่งกันและกันการสัมภาษณ์ทำได้ 2 แบบเช่นเดียวกันคือแบบไม่มีแบบแผนและแบบมีแบบแผนโดยเฉพาะแบบมีแบบแผนนั้นจะเป็นการกระทำเพื่อหาข้อมูลบางอย่างโดยมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน
     3. การปฏิบัติ เป็นการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติให้ดูว่าสามารถทำได้ตามที่เรียนรู้หรือไม่เช่นการสอนเขียนแบบเมื่อผู้สอนหลักการเป็นไปแล้วจะทำให้ผู้เรียนสามารถลงมือปฏิบัติเขียนแผนตามหลักการที่สอนมาให้ดู
     4. การศึกษากรณี เป็นเทคนิคการศึกษาแก้ปัญหาหรือปรากฏการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดโดยละเอียดลึกซึ้งเป็นรายราย
     5. การให้จินตนาการ เป็นเครื่องมือวัดทางจิตวิทยาที่สร้างขึ้นเพื่อล้วงความรู้สึกนึกคิดของผู้ถูกวัดออกมาอย่างไม่ให้เจ้าตัวรู้สึกและให้เจ้าตัวเห็นได้ว่าความรู้สึกหรือปฏิกิริยาของคนอื่นการวัดและการประเมินผลด้วยวิธีนี้มักจะใช้ทางด้านบุคลิกภาพเช่น 7 คติความสนใจอารมณ์ค่านิยมนิสัยและอุปนิสัย
     6. การใช้แบบสอบถาม เป็นวิธีที่จะต้องมีแบบสอบถามเป็นชุดของคำถามที่ถูกจัดเรียงไว้อย่างเป็นระบบระเบียบพร้อมที่จะส่งให้ผู้ตอบอ่านและตอบด้วยตนเองคำถามที่ใช้จะเป็นคำถามที่ใช้ถามข้อเท็จจริงและความคิดเห็นต่างๆเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเจ็ดการทดสอบเป็นการนำข้อความคำถามที่สร้างขึ้นมาไปกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการออกมาโดยสามารถสังเกตและวัดได้การทดสอบนี้มักจะใช้การวัดและการประเมินผลการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่โดยใช้แบบทดสอบเป็นเครื่องมือสำคัญแบบทดสอบนี้มีกันหลายประเภท




สรุป
       การวางแผนการสอนเป็นการเตรียมพร้อมเกี่ยวกับการเดินการสอนอย่างละเอียดเพื่อจะได้ดำเนินการเองการสอนได้ถูกต้องและตรงตามจุดประสงค์การวางแผนการสอนเป็นการเลือกและตัดสินใจเพื่อหาทางออกให้ดีที่สุด ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องมีการจัดเตรียมเนื้อหาโดยนำเนื้อหามาบูรณาการกันทำให้เกิดการง่ายต่อการศึกษาธรรมความเข้าใจ ในการวางแผนการสอนนั้นผู้สอนหรือผู้วางแผนต้องศึกษารายละเอียดของข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาพิจารณาในการวางแผนการสอนได้แก่ สภาพปัญหาและทรัพยากร  การวิเคราะห์เนื้อหา  การวิเคราะห์ผู้เรียน  ความคิดรวบยอด   วัตถุประสงค์ กิจกรรมการเรียนสื่อ การสอนและการประเมินผล การวางแผนการสอนสามารถทำให้สองแนวทางได้คือ การวางแผนระยะยาวและการวางแผนระยะสั้น 






อ้างอิง
   พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นางสาวบัณฑิตา รุจิเวชวงษ์