บทที่ 5
การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
โฉมหน้าการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน
มุ่งไปสู่การให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ซึ่งการเรียนรู้มิใช่เป็นเพียงเรียนเพื่อรู้เท่านั้น
แต่เป็นการเรียนเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์เรียนเพื่อรู้จักตัวเอง เรือนเพื่อรู้จักอยู่ร่วมกับผู้อื่น
เรียนรู้เพื่อการเจริญงอกงามทั้งร่างกายและจิตใจ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ซึ่งถือว่าเป็นแกนหลักของการปฏิรูปและเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา ดังที่ประเวศ วะสี
(2541, หน้า 68) กล่าวว่าการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาเพราะเป็นการปฏิรูปแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษา
จากเดิมที่การมองคนเป็นวัตถุที่จะต้องหล่อหลอมปั้นตกแต่งโดยการสั่งสอน อบรม ไปเป็นการมองคนในฐานะคนเป็นผู้มีศักยภาพในการเรียนรู้และงอกงามอย่างหลากหลาย
2. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งของสังคมไทยให้สมาชิกของสังคมมีจิตสำนึกร่วมกันในการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหาของส่วนรวมมีการบริหารอย่างถูกต้องแยบยลลดความขัดแย้งทุกคนมีความรับผิดชอบที่จะนำพาสังคมให้ก้าวหน้าและเข้มแข็ง
3. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและบริบทการเรียนรู้ในยุคโลกาภิวัตน์การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องจัดให้สอดคล้องกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่วิทยาการเจริญรุดหน้าความรู้และสอบวิทยาการเดินทางไปในที่ต่างๆด้วยความรวดเร็วข้อมูลและข่าวสารต่างๆเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้เรียนต้องมีความคล่องแคล่วไฟการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เช่นคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ตและรู้จักสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตของตนครอบครัวสังคมและประเทศชาติ
4. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนการปฏิรูปการเรียนรู้จะเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนพ่อแม่ผู้ปกครองและสังคมไทยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดำเนินตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองพ.ศ. 2545 ต้นการเปิดแนวทางให้ครูพ่อแม่ผู้ปกครองและชุมชนมีอิสระในการอบรมเลี้ยงดูในการศึกษาจัดหลักสูตรอันจะเป็นการเกื้อหนุน ซึ่งกันและกัน
5. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นหัวใจของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองพ.ศ. 2545 จึงเป็นภารกิจที่มีกฎหมาย
สำหรับประเทศไทยได้จัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษามาระยะหนึ่ง
โดยมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สอง
พ.ศ. 2545 เป็นแม่บทหรือเทศทางและนำลงสู่การปฏิบัติด้วยการกำหนดเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องและสำคัญหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2544 และพัฒนาเป็นหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับสถานศึกษาแต่ละแห่งตามความเหมาะสม
จากผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษานี้พบว่า
บางพื้นที่ยังมีปัญหาอยู่บ้าง เช่นผลการวิจัยของสำราญ ตติชรา (2547, หน้า 1) การศึกษาปัญหาการจัดการเรียนการสอนตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
ของครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองตราด
พบว่าการจัดการเรียนการสอนหรือการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษาของครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองตราด
ยังมีปัญหาอยู่หลายประเด็นตามลำดับ คือ การประชาสัมพันธ์การสอนการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น
การสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์
การจัดสภาพแวดล้อมทางการสอนการให้ชุมชนมีส่วนร่วม
ในการจัดการเรียนการสอนการประเมินผลตามสภาพจริง การสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
การทำวิจัยในชั้นเรียน การให้ผู้เรียนค้นคว้าด้วยตนเอง และเมื่อเปรียบเทียบปัญหาต่าง
ๆ ในการจัดการเรียนรู้ปรากฏว่า ผลของปัญหาไม่แตกต่างกัน ดังนั้น
ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
จำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจ
เกี่ยวกับพื้นฐานเรื่องนี้อย่างทองแท้จนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
(2543, หน้า 4-5) ที่ได้สรุปถึงความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้หรือปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษาซึ่งสามารถสังเคราะห์ได้ดังนี้
1. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของคนไทยการปฏิรูปวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่จะช่วยพัฒนาคนไทยให้เป็นคนที่มีความรู้คู่คุณธรรมตัวหลักในคุณค่าของตนเองผู้อื่นและสรรพสิ่งทั้งหลายรู้จักควบคุมตนเองให้อยู่ในคลองลองแห่งความดีงามรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเป็นคนมีเหตุผลยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น
เคารพกติกาของสังคมมีความขยันซื่อสัตย์และเสียสละเพื่อส่วนรวมมีความสามารถในการใช้ศักยภาพของสมองได้ทั้งซิกซ้ายและซีกขวาอย่างได้สัดส่วนสมดุลย์กันคือความสามารถในด้านการใช้ภาษาสื่อสารการคำนวนการวิเคราะห์แบบวิทยาศาสตร์คิดเป็นระบบสามารถใช้สติ
ปัญญาอย่างเฉลียวฉลาดลึกซึ้งเพื่อเรียนรู้ให้บรรลุความจริงความดีความงามของสรรพสิ่งเป็นคนที่มีสุขภาพกายดีมีวุฒิภาวะทางอารมณ์บุคลิกภาพ
ร่าเริงแจ่มใสจิตใจอ่อนโยนและเกื้อกูลมีมนุษย์สัมพันธ์ดีเผชิญหน้าและแก้ปัญหาได้ดำรงชีวิตอย่างอิสระและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข2. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งของสังคมไทยให้สมาชิกของสังคมมีจิตสำนึกร่วมกันในการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหาของส่วนรวมมีการบริหารอย่างถูกต้องแยบยลลดความขัดแย้งทุกคนมีความรับผิดชอบที่จะนำพาสังคมให้ก้าวหน้าและเข้มแข็ง
3. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและบริบทการเรียนรู้ในยุคโลกาภิวัตน์การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องจัดให้สอดคล้องกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่วิทยาการเจริญรุดหน้าความรู้และสอบวิทยาการเดินทางไปในที่ต่างๆด้วยความรวดเร็วข้อมูลและข่าวสารต่างๆเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้เรียนต้องมีความคล่องแคล่วไฟการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เช่นคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ตและรู้จักสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตของตนครอบครัวสังคมและประเทศชาติ
4. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนการปฏิรูปการเรียนรู้จะเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนพ่อแม่ผู้ปกครองและสังคมไทยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดำเนินตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองพ.ศ. 2545 ต้นการเปิดแนวทางให้ครูพ่อแม่ผู้ปกครองและชุมชนมีอิสระในการอบรมเลี้ยงดูในการศึกษาจัดหลักสูตรอันจะเป็นการเกื้อหนุน ซึ่งกันและกัน
5. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นหัวใจของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองพ.ศ. 2545 จึงเป็นภารกิจที่มีกฎหมาย
2.แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษายึดหลักการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองพ.ศ. 2545 ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและมุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนซึ่งเป็นความหมายเดียวกันกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางคือการยึดผู้เรียนเป็นหลักวิธีการนี้ได้พัฒนาเป็นเวลานานมากกว่า
80 ปีแล้วปัจจุบันได้มีผู้นำเสนอแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนไปสู่จุดหมายไปทางที่พึงประสงค์ได้สองวิธีคือ
1. การจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยผู้เรียนจะเป็นผู้ทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกความรู้เป็นผลพลอยได้จากการทำกิจกรรม ระหว่างทำกิจกรรมเด็กผู้เรียนก็จะได้ พัฒนาตนเองทางการคิด การปฏิบัติ การแก้ปัญหา การทำงานร่วมกัน การวางแผนการจัดการ และเทคนิควิธีการต่างๆ ที่เรียกว่า เรียนรู้วิธีการหาความรู้
2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นกระบวนการ หมายถึง การมีขั้นตอนต่างๆให้ผู้เรียนได้แสดงออกหรือปฏิบัติ โดยใช้ร่างกายความคิดการพูดเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ คือ ความรู้หลังจากทำกิจกรรมและมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม คุณสมบัติทางความรู้ความคิดทักษะความสามารถทางการปฏิบัติตลอดทางเกิดเจตนาคติ ค่านิยมที่ดีงาม
นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
(2543, หน้า 7) ได้สรุปประเด็นสาระสำคัญของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 การเรียนรู้โดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หมายถึง
การเรียนรู้มี่เป็นกระบวนการสร้างประสบการณ์และสิ่งต่างๆที่ให้ความหมายต่อตนเองจากการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
ประเด็นที่ 2 การเรียนรู้เรื่องของตนเองธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง
การเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจของตนเองการรับรู้และตระหนักในตนเองสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับค่านิยมที่ดี
ประเด็นที่ 3 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ดังนี้
3.1 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิต หมายถึง การเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตที่สำคัญและจำเป็น
3.2 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพ หมายถึงการเรียนรู้เพื่อค้นพบและใช้ศักยภาพของตนเพื่อเตรียมตัวประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับตนเอง
ประเด็นที่ 4 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดการแก้ปัญหาโดยเน้นประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติ หมายถึงการใช้ทักษะการคิดเพื่อหาคำตอบในสถานการณ์ต่างๆ โดยอาศัยประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติจริง
ประเด็นที่ 5 การเรียนรู้โดยผสมผสานความรู้ คุณธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง การเรียนรู้ที่มุ่งให้มีความรู้ในศาสตร์ต่างๆควบคู่กับการพัฒนาตนเอง
ประเด็นที่ 6 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาประชาธิปไตย หมายถึง การเรียนรู้ในเรื่องสิทธิเสรีภาพความเสมอภาคและการปฏิบัติตามหน้าที่ของตน
ประเด็นที่ 7 การเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม หมายถึง การเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจตระหนักในความรู้ต่างๆที่คิดค้นและสั่งสมประสบการณ์ต่างๆโดยภูมิปัญญาไทย
ประเด็นที่ 8 การวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ หมายถึง การศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปผลเพื่อแก้ไขปัญหา
ประเด็นที่ 9 การเรียนรู้โดยความร่วมมือของครอบครัวและชุมชน หมายถึง การที่ครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษามีบทบาทร่วมกันในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
ประเด็นที่ 10 การประเมินผลผู้เรียน หมายถึง
กระบวนการพิจารณาตัดสินคุณภาพคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้เรียน
3.การปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
คำว่าผู้เรียนเป็นสำคัญมาจากบทบัญญัติในมาตรา
22 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ที่บัญญัติไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษา
ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ สำหรับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนี้เป็นการจัดหลักการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีการเรียนรู้
หลายทฤษฎี จากแนวคิดของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าว สามารถสรุปเป็นความหมายเชิงปรัชญาและเชิงปฏิบัติการได้ดังนี้
1. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุดหรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เอาชีวิตจริงและเงื่อนไขการรับรู้ของผู้เรียนเป็นตัวตั้ง
ผู้เรียนมีอิสรภาพได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาเต็มศักยภาพของความเป็นมนุษย์ทั้งจิตใจ
ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม
ผู้เรียนได้รับการพัฒนาแบบองค์รวมได้รับการฝึกให้มีศักยภาพในการสร้างรูปแบบคิดผู้เรียนเป็นผู้กระทำกิจกรรมการเรียนรู้ได้ถูกต้องแม่นยำด้วยความรู้สึกที่ดีงามอันเป็นการสร้างบุคลิกที่ดีงาม เรียนรู้วิธีการเรียนรู้
จากการปฏิบัติของตนเอง คิดอย่างมีระบบและมีวิจารณญาณอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุขเรียนรู้ตลอดชีวิตและเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
2. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง
ได้พัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ ศึกษาค้นคว้า ทดลอง และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ตามความถนัดความสนใจด้วยวิธีการ กระบวนการและใช้แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในและนอกห้องเรียน
ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ได้มาตรฐานตามที่หลักสูตรกำหนด
มีความรู้ชื่นชมยินดีในผลการปฏิบัติของตน
สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน สังคมและส่วนรวม
3. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้จัดหรือครูผู้สอนดำเนินการให้สอดคล้องกับผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
ความสามารถทางปัญญา วิธีการเรียนรู้โดยบูรณาการคุณธรรม ค่านิยม
อันพึงประสงค์บางแผนการจัดกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นระบบให้ผู้เรียนได้พัฒนาสติปัญญา
อารมณ์ และทักษะการปฏิบัติส่งเสริมสนับสนุนการนำความรู้ไปใช้ให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในสถานศึกษา
ให้พัฒนา กระบวนการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ครูผู้สอนทำวิจัยในชั้นเรียน
เพื่อพัฒนาการเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและสนับสนุนด้านทรัพยากรการลงทุน เพื่อศึกษาพร้อมทั้งดูแลตรวจสอบกระบวนการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
จากข้อสรุปและแนวคิดของผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆข้างต้น
ในขณะนี้ทุกหน่วยงานทั้งในและนอกกระทรวงศึกษาธิการได้ ตระหนักในความสำคัญของการปฏิรูปการเรียนรู้จึงได้พัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างหลากหลาย
และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาทิ หน่วยงานต่างๆดังต่อไปนี้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545, หน้า 8-10) ได้สรุปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ไว้ดังนี้
1.การจัดการศึกษาต้องเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและประสบการณ์การเรียนรู้ ยึดหลักดังนี้
1.1 ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ดังนั้นจึงต้องจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศ รวมทั้งแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ให้หลากหลายเพื่อเอื้อต่อความสามารถของแต่ละบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติที่สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจเหมาะสมแก่วัย และศักยภาพของผู้เรียน
1.2 ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดเรียนการสอนมุ่งเน้นประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ จากประสบการณ์จริง เพื่อให้เกิดการใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
2. ผู้ปลูกฝังและสร้างลักษณะที่พึงประสงค์ให้กับผู้เรียน โดยนัยความรู้คุณธรรมค่านิยมที่ดีงาม และบูรณาการความรู้ในเรื่องต่างๆอย่างสมดุลรวมทั้งการฝึกทักษะกระบวนการคิดการจัดการอย่างมีวิจารณญาณการเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ใช้ความรู้โดยให้ผู้เรียนมีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องต่างๆดังนี้
2.1 ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัวชุมชน ชาติ และ สังคมโลก
2.2 ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้
2.3 ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการรู้จักประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
2.4 ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษาเน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
2.5 ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
3. กระบวนการเรียนรู้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 ได้กำหนดแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้
3.1 จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
3.2 ให้มีการฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
3.3 จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงฝึกการปฏิบัติให้ทำได้คิดเป็นทำเป็นรักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
3.4 จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานความรู้ต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
3.5 ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมสื่อการสอนและอำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
3.6 ผู้เรียนและผู้สอนเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
3.7 การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดาผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
4.วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา
วิธีการสอนในปัจจุบันตามแนวปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองเรียกว่าวิธีการจัดการเรียนรู้ซึ่งในมาตรา
22 ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้โดยมีหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ.
2551 เป็นกรอบหรือทิศทางมุ่งให้แสวงหาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้เกิดความสมดุลทั้งด้านปัญญาความคิดและด้านอารมณ์โดยความสามารถทางปัญญาและความคิดได้แก่ความคิดสร้างสรรค์และความคิดวิจารณญาณส่วนความสามารถทางอารมณ์
การสอนแบบโครงงาน (Project Design)
เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาความสามารถความถนัดและความสนใจของตนเองในด้านต่างๆมาจากแนวคิดพื้นฐานของการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
(Child Center) และการเรียนรู้ตามสภาพจริง โดยมีการศึกษาหลักการ
และวิธีเกี่ยวกับโครงงานที่เลือกศึกษาวิเคราะห์วางแผนการทำงานลงมือทำงานและปรับปรุง เพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ในกระบวนการเรียนการสอนได้ใช้ทักษะกระบวนการ
สอดแทรกคุณธรรม ทำงานเป็นกลุ่มฝึกปฏิบัติจริงเน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมมีครูเป็นผู้ชี้แนะ
ให้คำปรึกษาตลอดเวลาเน้นฝึกคนให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
บทบาทของผู้เรียนการสอนแบบโครงงาน
Project Design
1. โครงงาน
2. ศึกษาข้อมูล
3. วิเคราะห์ข้อมูล
4. ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
5.เขียนโครงงานวางแผนการทำงาน
6. ปฏิบัติตามโครงงาน
7. ประเมินผลโครงงาน
วิธีการสอนแบบ 4 MAT
เป็นนวัตกรรมการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดในเรื่องความแตกต่างระหว่าง
บุคคลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญารวมทั้งมีความสุขแนวคิดนี้มาจากเบอร์นิส
แมคคาร์ที ซึ่งได้นำผลการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนและผลการศึกษาด้านพัฒนาสมองสองซี่ได้แก่ ความสามารถของสมองซีกขวา คือ การสังเคราะห์การคิดสร้างสรรค์การใช้สามัญสำนึกการคิดแบบหลากหลายและ ความสามารถของสมองซีกซ้าย คือ การคิดวิเคราะห์การคิดหาเหตุผลการคิดแบบปรนัยการคิดแบบมีทิศทางตอบสนองการพัฒนาศักยภาพทุกด้านของผู้เรียนที่มีรูปแบบและลักษณะเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
ขั้นที่ 1 การนำเสนอประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับผู้เรียน แบ่งออกเป็น 2 ขั้นย่อยดังนี้
1.1 การเสริมสร้างประสบการณ์
1.2 การวิเคราะห์ประสบการณ์ที่ได้
ขั้นที่ 2 การเสนอเนื้อหา สาระ ข้อมูลแก่ผู้เรียน แบ่งออกเป็น 2 ขั้นย่อยดังนี้
2.1 การบูรณาการประสบการณ์สร้างความคิดรวบยอด
2.2 การพัฒนาเป็นความคิดรวบยอด
ขั้นที่ 3 การฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอด แบ่งออกเป็น 2 ขั้นย่อยดังนี้
3.1 การปฏิบัติงานตามขั้นตอน
3.2 การนำเสนอผลการปฏิบัติ
ขั้นที่ 4 การนำความคิดรวบยอดไปประยุกต์ใช้ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นย่อยดังนี้
4.1 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้หรือการพัฒนางาน
4.2 การนำเสนอผลงานหรือการเผยแพร่
วิธีการสอนการสอนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
สเปนเซอร์
คาเกน (Spenser Kangan)
นักศึกษาชาวสหรัฐอเมริกาได้ทำการวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี
ค.ศ. 1985 และได้เผยแพร่ผลงานอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาและในหลายประเทศในแถบเอเชียโดยมีการนำมาใช้ในการเรียนการสอนต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์และได้นำเสนอแนวคิดหลักที่จะนำไปสู่การเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างมีประสิทธิผล
แนวคิดหลัก 6 ประการ ดังนี้
1.การจัดกลุ่ม (TEAMS) หมายถึง การจัดกลุ่มผู้เรียนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมด้วยกัน
เพื่อให้ประสิทธิผลมากที่สุด
2. ความมุ่งมั่น (Will) หมายถึง ความมุ่งมั่นและอุดมการณ์ของผู้เรียนที่จะทำงานร่วมกัน
ซึ่งจะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้เละมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิผล
3. การจัดการ (Management) หมายถึง การจัดการกลุ่มให้สามารถทำกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการจัดการผู้เรียน
เพื่อให้ทำกิจกรรมกลุ่มประสบผลสำเร็จ
4. ทักษะทางสังคม (Social Skill) หมายถึง การพัฒนาให้ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกัน
และช่วยเหลือกันอย่างจริงใจ
5. กฎพื้น 4 ข้อ (Basics
principles : Pies) หมายถึง
1.การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
2.การยอมรับความสามารถซึ่งกันและกัน
3.ความความเสมอภาค
4.การมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
6. รูปแบบของกิจกรรม (Structures) หมายถึง
รูปแบบกิจกรรมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาหรือสถานการณ์ที่จะศึกษา
วิธีสอนแบบซิปปา (Cippa model)
เป็นวิธีสอนหรือการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้น
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการคือ (ชูชาติ เชิงฉลาด, 2546, หน้า 229)
1. C Construct หมายถึง
การสร้างความรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ความรู้ ( Constructivism)
2. I Interaction หมายถึง การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
3. P physical
participation หมายถึง การมีส่วนร่วมทางกาย
4. P process
Learning หมายถึง
การเรียนรู้กระบวนการต่างๆที่เน้นทักษะต่อการดำรงชีวิต
5. A
Application หมายถึง
การนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบซิปปามีองค์ประกอบสำคัญ
5 ประการดังกล่าวแล้วครูผู้สอนสามารถเลือกรูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้หรือกิจกรรมใดก็ได้ที่สามารถจัดกิจกรรมใดก่อนหลังได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับ
วิธีการสอนแบบบูรณาการ
เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่
และเป็นประสบการณ์ตรงที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ในวิชาหลายๆแขนง
ขั้นตอนการสอนแบบบูรณาการ
1. กำหนดหัวข้อสาระการเรียนรู้
2. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
3. กำหนดเนื้อหาของเรื่อง
4. กำหนดขอบเขตการเรียนรู้
5. ดำเนินกิจกรรม
6. ประเมินผล
วิธีการสอนแบบเล่าเรื่อง
คำว่าวิธีการสอนแบบเล่าเรื่อง
ตรงกับภาษาอังกฤษว่า story line นำมาใช้กับภาษาไทยว่าเล่าเรื่องดำเนินเรื่องเรื่องราว โครงเรื่อง การจัดการเรียนรู้โดยใช้เล่าเรื่องมีหลักการจัดการเรียนรู้ดังนี้
1. การสร้างหน่วย การเรียนโดยใช้กลุ่มสาระการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่งเป็นแกนเรื่องและกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นนำบูรณาการด้วยการสร้างแผนผังสาระการเรียนรู้กิจกรรมก่อนเป็นผู้สอนจะต้องกำหนดชื่อเรื่องหัวเรื่องที่จะจัดการเรียนรู้ในกำหนดหัวข้อย่อยโดยบูรณาการเนื้อหาสาระกิจกรรมแล้วกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้ชัดเจน
2. สร้างสถานการณ์หรือเรื่องราวจากหน่วยการเรียนรู้
ผู้สอนจะต้องสมมุติสถานการณ์หรือเรื่องราวขึ้นซึ่งต้องมีองค์ประกอบ
4 ประการ
คือ ฉาก ตัวละคร วิถีชีวิต เหตุการณ์
และสถานการณ์ที่สนองต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
3. การจัดการเรียนรู้ตั้งจัดทำเส้นทางการดำเนินเรื่องคำถาม
นำกิจกรรมสื่อการเรียนรู้และลักษณะการเรียงโดยทำเป็นแผนการเรียนรู้
4. การสอนตามแผนการเรียนรู้จะแบ่งเวลาการเรียนตามเส้นทางการดำเนินเรื่อง ในตารางแผนการเรียนรู้อาจกำหนดเวลาเรียนแต่ละเส้นทางการดำเนินเรื่องซึ่งอาจใช้เวลา
2-3 ชั่วโมง
วิธีการสอนแบบปุจฉาวิสัชนา
วิธีการสอนแบบปุจฉาวิสัชนาเป็นการเรียนรู้แบบถามต่อเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิดและรู้จักหาคำตอบด้วยตนเองการตั้งคำถามผู้ตั้งคำถามจะต้องใช้ความคิดในการตั้งคำถาม
ขั้นตอนการสอนแบบปุจฉาวิสัชนามี 6 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 แนะนำรูปแบบการเรียน
ผู้สอนกับผู้เรียนกำหนดหัวข้อการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้
และขั้นตอนการเรียนรู้
ขั้นที่ 2 อ่านหรือดูสื่อเพื่อหาความรู้และเตรียมคำถาม
ผู้เรียนศึกษาความรู้จากแหล่งต่างๆโดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน ผู้เรียนศึกษาสื่อและตั้งคำถาม
ขั้นที่ 3 วางแผนและจัดกลุ่มคำถาม
แต่ละกลุ่มจัดกลุ่มคำถามตามเนื้อหาสาระ แล้วนำคำถามทุกกลุ่มมารวมกัน
ขั้นที่ 4 ดำเนินการถามตอบ
ขั้นที่ 5 ทบทวนและสรุปความรู้
ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาตามประเด็นคำถาม
ขั้นที่ 6 กิจกรรมสร้างสรรค์
เมื่อตอบคำถามแล้วผู้เรียนแต่ละกลุ่มประชุมเพื่อวางแผนกิจกรรม เช่น ทำสมุดคำตอบ
วิธีการสอนแบบโครงสร้างความรู้
วิธีสอนแบบโครงสร้างความรู้หรือแผนผังความคิด
(Graphic organizer) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรวบรวมข้อมูล
หรือความรู้จากการศึกษาค้นคว้า การอ่าน การฟังคำบรรยาย
แล้วนำข้อมูลมาจากกลุ่มเขียนเป็นภาพแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างความคิดกระบวนการคิดและความสำคัญของกระบวนการโดยใช้รูปภาพซึ่งสามารถแสดงโครงสร้างความคิดได้หลายรูปแบบ (ชาตรี เกิดธรรม, 2546, หน้า
86) ดังนี้
รูปแบบการสอนแบบโครงสร้างความรู้
1. แผนผังความคิด (Mind
Map)
2. ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้ (Tree Structure)
3. แผนผังความคิดแบบแวนน์ (Venn Diagram)
4. แผนผังความคิดแบบวงจร หรือแบบวัฏจักร (Cycle Graph)
5. แผนผังก้างปลา (Fish
boon)
6. แผนผังแบบลำดับขั้นตอน (Sequence Chart)
แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพการสอน
การประเมินประสิทธิภาพการสอน นอกจากจะใช้วิธีเทียบเคียงกับหลักและลักษณะการสอนที่ดี
ทางในขั้นต้นแล้ว อาจจะใช้เกณฑ์ในการพิจารณาจากความหมายของประสิทธิภาพการสอนที่
หมายถึง ผลการสอน ที่ทำให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยอาศัยความสามารถในการปฏิบัติการสอนของผู้สอนหรือการดำเนินการสอนในการวางแผนการเรียนรู้ออกแบบและเลือกวิธีการจัดการเรียนรู้ตลอดบุคลิกลักษณะหรือพฤติกรรมต่างๆของผู้สอนที่จะทำให้การเรียนการสอนนั้นๆบรรลุสำเร็จอย่างราบรื่นตามความมุ่งหมาย
ส่วนวิธีการที่จะได้นำมาซึ่งข้อมูลนั้นอาจได้มาจากการพูดคุยสัมภาษณ์สังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในที่นี้ขอนำเสนอการได้มาซึ่งข้อมูลในการประเมินประสิทธิภาพการสอนจาก
4 แหล่งคือ
1. ประเมินตนเอง (Teacher
self- Report)
2. การสังเกตการสอนในชั้นเรียน (Observation
Report)
3. การประเมินโดยผู้เรียน (student
Report)
4. การประเมินจากกลุ่มเพื่อน (Teacher
peers)
การประเมินประสิทธิภาพการสอนไม่ว่าจะใช้วิธีใดหรือจากแหล่งข้อมูลใดการประเมินประสิทธิภาพการสอนควรมุ่งพิจารณาในประเด็นต่างๆดังนี้
1. จุดมุ่งหมายของการสอน
2. วิธีสอนเป็นเทคนิคหรือกลวิธีที่ผู้สอนจะต้องเลือกใช้
3. สื่อการสอนเป็นส่วนประกอบที่ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ที่สมบูรณ์แก่ผู้เรียน
4. การวัดผลเป็นกระบวนการติดตาม
ผลการปฏิบัติการสอนว่าผู้เรียนเกิดคุณลักษณะต่างๆ
5. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้สอนการจัดการเรียนการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอนหมายถึงการจัดกิจกรรมโดยวิธีต่างๆอย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสร้างเสริมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไปเริ่มจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนจึงต้องใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนในหลากหลายวิธี
กิจกรรมการเรียนการสอนตามขั้นตอนของการใช้ในการเรียนการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนหรือในการสอนแต่ละครั้งมักถูกออกแบบเป็น
3 ขั้นตอน
คือกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน กิจกรรมขั้นการสอน และกิจกรรมขั้นสรุป
โดยแต่ละกิจกรรมมีรายละเอียดดังนี้
1.กิจกรรมขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและดึงดูดชักนำให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียนเนื้อหาที่ผู้สอนจำเป็นจะต้องให้เสริมประสบการณ์ใดก่อนหรือไม่
และในการนำกิจกรรมต่างๆไปใช้นี้ก็ควรได้มีการพิจารณาเรื่องของการแบ่งเวลาให้เหมาะสมไม่ใช้เวลามากจนเกินไปกิจกรรมที่นำเข้าสู่บทเรียนมีได้หลากหลายตัวอย่าง
เช่น กิจกรรมเล่าเรื่องต่างๆ
2. กิจกรรมขั้นการสอน ผู้สอนสามารถนำมาใช้ได้หลายรูปแบบตามวิธีการสอนต่างๆโดยผู้ส่งจะต้องพิจารณาตามความ
สมควรเหมาะสมในการนำมาใช้โดยพิจารณาตามหลักทฤษฎีต่างๆและข้อจำกัดของการสอนนั้นแม้นกิจกรรมสอนมีหลายวิธีการ
ด้วยการใช้การสอนแบบรายงาน การสอนแบบการแก้ปัญหาหรือการสอนแบบวิทยาศาสตร์ การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมุติ
การสอนโดยกระบวนการเป็นกลุ่มการสอนและเป็นศูนย์กลางการเรียน การสอนแบบหน่วย
เป็นต้น
3. กิจกรรมขั้นสรุป เป็นการประมวลสาระสำคัญของบทเรียนแต่ละบทเรียนที่ได้เรียนจบลงเพื่อให้ผู้เรียนได้แนวคิดที่ถูกต้องในบทเรียนนั้นๆ
และเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้ในเนื้อหาต่อไปโดยทั่วไปแล้วการสรุปบทเรียนส่วนใหญ่จะเป็น
เพื่อสรุปใจความสำคัญแต่ละตอน ในระหว่างบทเรียน
หรือสรุปเมื่อจบบทเรียนหรือเมื่อผู้เรียนฝึกปฏิบัติจบลงก็เป็นไปได้กิจกรรมเข้าสู่บทเรียนหรือเนื้อหาที่สอนนี้สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
3.1 การสรุปทบทวน
3.2 การสรุปจากการปฏิบัติ
3.3 สรุปการใช้อุปกรณ์
3.4 สรุปจากการสร้างสถานการณ์
5.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
การปฏิรูปการศึกษาครั้งสำคัญในปัจจุบันมุ่งเน้นการปฏิรูปการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนโดยองรวม
ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษาจึงเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเน้นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพโดยให้มีลักษณะเป็นการเรียนรู้ที่สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
เรียนรู้เรื่องด้วยตนเองธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตการประกอบชีวิตพัฒนาการคิดผสมผสานความรู้ศิลปวัฒนธรรมครอบครัวและชุมชน
1. ทฤษฎีการสรรค์สร้างความรู้ (Constructivism) เป็นทฤษฎีที่มุ่งความสนใจไปที่บทบาทของผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้ใหม่
นักจิตวิทยาการเรียนรู้แนวคอนสตรัคติวิซึมที่มีชื่อเสียงกลุ่มมีได้แก่ Dewey,Piaget,Vigosky และ Ausubel เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นการพยายามเชิงสังคมเป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือกันซึ่งมีความสำคัญของการสร้างความรู้โดยกลุ่มคน
ซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่าทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานดังนี้
1.1 ผู้เรียนตั้งระบบความเข้าใจด้วยตนเองมากกว่าการส่งผ่านบริการถ่ายทอดจากผู้สอน
1.2 การเรียนรู้ไหมสร้างบนพื้นฐานของการเรียนรู้ที่ผ่านมา
ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
1.3 การเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
ซึ่งการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจกับแนวคิดต่างๆและทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสประเมินความเข้าใจตนเอง
1.4 การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริงการเสริมสร้างให้การเรียนรู้ที่มีความหมายการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึมนั้น
ยอมรับข้อมูลที่มีอยู่ในน้ำและข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้น
2. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavionsm) เป็นทฤษฎีที่ชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากพลังกระตุ้นจากภายนอกในรูปแบบของการให้รางวัลและการลงโทษ
ผู้เรียนมีบทบาทคอยรับสิ่งเร้าและมีปฏิสัมพันธ์ ส่วนผู้สอนมีบทบาทในการควบคุมและกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่คาดหมาย
ด้วยการให้รางวัลหรือการลงโทษ
3. ทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitivism)
เป็นทฤษฎีที่ชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการรับข่าวสารจัดเก็บข่าวสารและการนำข่าวสารออกมาใช้
ผู้เรียนต้องตื่นตัวในการพัฒนากลยุทธ์ที่จัดสร้างความเข้าใจอย่างมีความหมาย
ส่วนผู้สอนถือเป็นผู้ร่วมขบวนการพัฒนากลยุทธ์และการใช้กลยุทธ์อย่างมีความหมาย
4. ทฤษฎีมนุษยนิยม (Humanism) มนุษย์ทุกคนเกิดความพร้อมกับความดีที่ติดตัวมาแต่กำเนิดมีอิสระที่จะนำตนเองและพึ่งตนเองได้มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำประโยชน์ต่อสังคม
มีอิสระในการเลือกทำสิ่งต่างๆที่จะทำให้ผู้อื่นไม่เดือดร้อน
ในการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีนี้ ควรให้ผู้เรียนมีสมรรถภาพในด้านความรู้ อารมณ์
ความรู้สึก และ ทักษะไปพร้อมพร้อมกัน
ซึ่งความว่ามีคนฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิดรู้จักใช้เหตุผลมีความชื่นชมต่อสิ่งที่เรียนและค่อยๆรุนแรงโดยทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง
6.บทบาทของผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจะเกิดขึ้นได้
ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายฝ่ายร่วมมือการพัฒนาและปรับปรุงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้
ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้สอนศึกษานิเทศก์ พ่อแม่
ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรสถาบันวิชาการ หน่วยงานและสื่อมวลชน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2)
พ. ศ. 2545 มาตรา๒๔กำหนดบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อย่างชัดเจน
โดยการประสานเชื่อมโยงบทบาทของทุกคนให้เกิดการปฏิรูปทางการศึกษา โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้
2. กำหนดแผนยุทศาสตร์ในการพัฒนาโรงเรียน
3. ปรับปรุงการบริหารจัดการให้เอื้ออำนวยความสะดวกแก่ผู้สอน
4. พัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้
5. จัดให้มีระบบนิเทศภายใน ช่วยเหลือครูพัฒนาหลักสูตร
และการจัดการเรียนรู้
บทบาทของครูผู้สอน
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้
2. พัฒนาความรู้ ความสามารถตนอยู่เสมอ
3. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ และการวัดประเมินผลตามสภาพจริง
4. ทำวิจัยในชั้นเรียนควบคู่การเรียนการสอน นำผลมาปรับปรุงพัฒนา
5. สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดบทบาทของผู้เรียน
6. ช่วยให้รู้จักประเมินผลการเรียนรู้ของตนเอง
ผู้เรียนยอมรับและพัฒนาตนเอง
7. ให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน กระตุ้นผู้เรียนให้กล้าเผชิญปัญหา
8. เป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียน และบุคลากรในโรงเรียน
บทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครอง
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้
2. ให้การอบรมเลี้ยงดู ให้ความรักและความอบอุ่น
3. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในบ้าน และเป็นตัวอย่างแก่บุตรธิดา
4.ให้คำปรึกษา และเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
5. ร่วมมือกับโรงเรียนในการให้ข้อมูลและประเมินผู้เรียน
บทบาทของชุมชน
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้
2. ร่วมมือในการพัฒนาสถานศึกษา และระดมทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้
3. ประสานสัมพันธ์กับสถานศึกษาสร้างบรรยากาศให้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้
4. ดูแลเอาใจใส่พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
บทบาทของผู้เรียน
1. กำหนดเป้าหมายการศึกษาให้สอดคล้องกับความรู้
ความสามรถและความสนใจของตน
2. มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้
3. รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน
4. ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
5. ปฏิบัติตนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
6. รู้จักประเมินตนเองและผู้อื่น
7. ศรัทธาต่อผู้สอน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับครูและเพื่อน
สรุป
นอกจากนี้ยังมีการเสนอแนะประเด็นต่างๆที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญจากหน่วยงานนักวิชาการและนักการศึกษาอีกมากมายรวมทั้งทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
อาทิ ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้. ทฤษฎีพฤติกรรม นิยมทฤษฎีพุทธนิยมและทฤษฎีมนุษย์นิยม
ตลอดจนบทบาทของบุคลากรต่างๆที่เกี่ยวข้องทำให้การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปศึกษาประสบผลสำเร็จ
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช.
วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม :
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น